คำนำ
หนังสือเรื่อง "จรรยาผู้ดี" เขียนขึ้นคร้ังแรกเมื่อพ.ศ.๒๕๐๙ จำนวน ๓๗๐ ข้อ คือภาคหนึ่ง ต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๕๒๗ ได้เขียนเพิ่มเติมอีก ๘๐ ข้อ คือ ภาคสอง และได้เขียนเพิ่มเติมขึ้่นเมื่อพ.ศ.๒๕๒๙ อีก ๑๘๙ ข้อ คือภาคสาม รวมท้ังสิ้นมี ๖๓๙ ข้อ ใช้เวลานานที่สุดถึง ๒๐ ปีเต็ม เพราะฉนั้นข้อความและถ้อยคำสำนวนจึงแตกต่างกันอยู่บ้างตามวันเวลาที่ผ่านไป
เมื่อได้เขียนครบถ้วนแล้ว จึงเห็นว่าควรพิมพ์ออกเผยแพร่เพื่อออกไปสู่วงการศึกษา เพราะเนื้อแท้ของ "จรรยาผู้ดี" นี้คือ "ธรรมจริยา" นั่นเอง แต่แทนที่จะเรียกว่า "ธรรมจริยา" ซึ่งฟังดูออกจะเป็นหนังสือธรรมะธรรมโมมากไป จึงเรียกว่า "จรรยาผู้ดี" แทน ซึ่งคำแปลหรือความหมายก็คงใกล้เคียงกัน
คือ "ธรรมจริยา" แปลว่า การประพฤติธรรม "จรรยาผู้ดี" แปลว่า ความประพฤติของคนดี
แต่ขอได้โปรดเข้าใจด้วยว่า ข้าพเจ้ามิได้ต้ังตัวเป็นครูอาจารย์ของท่านผู้ใดเลย เพียงแต่รวบรวมเอาจรรยาผู้ดี ที่ประพฤติปฎิบัติกันอยู่แล้วในวงของคนดีมารวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ เหมือนดั่งว่า เก็บดอกไม้ที่บานสะพรั่งอยู่แล้วในสวนขวัญ มาร้อยเป็นพวงมาลัยให้เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามตา ฉน้ันจรรยาผดีนี้มันเป็นเพียงอุดมคติว่าสาธุชนคนดี ควรจะประพฤติเช่นไรเท่าน้ัน คงจะไม่มีใครประพฤติปฎิบัติได้ครบถ้วนทุกข้อได้ แต่อย่างน้อยมันคงจักเป็นหลักยึดถือได้อย่างง่ายๆ สำหรับชาวบ้านทั้่วไป ไม่ต้องไปค้นคว้าหาหลักธรรมอันลึกซึ้งที่ไหนอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น