วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สมเด็จพระะแก้วมรกต





          อีกแนวทางหนึ่งของการวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับเรื่องราวตำนานประวัติ ของ "สมเด็จพระแก้วมรกต" พระพุทธรูปล้ำค่าอันเป็นที่เคารพสักการยิ่งแห่งแว่นแคว้นแดนนี้ ซึ่ง เทพ สุนทรศารทูล ได้เสนอมุมมองเกี่ยวกับตำนานประวัตินี้ไว้เพื่อการพิจารณาศึกษาค้นคว้ากันต่อไปด้วยเช่นกัน






วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หัวใจพระพุทธศาสนา


คำนำ

     เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ บริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทยได้จัดให้มีการประกวดแต่งหนังสือเรื่อง "หัวใจพระพุทธศาสนา"  ข้าพเจ้าสนใจศึกษาเรื่องนี้มาช้านาน   มีเพื่อนฝูงมาเชียร์ให้ข้าพเจ้าแต่งเรื่องนี้ส่งประกวด ข้าพเจ้าไม่กล้าแต่งประกวด แต่ได้เขียนขึ้น  และพิมพ์แจกในงานทอดกฐินสามัคคีวัดช้างเผือก  อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามที่ข้าพเจ้าเป็นประธานเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ๒๕๓๑
   
      ข้าพเจ้าเขียนเรื่องหัวใจพระพุทธศาสนานี้ก็มุ่งหมายเพื่อจะอธิบายว่า  หัวใจพระพุทธศาสนาน้ั้น ชี้ลงไปที่ธรรมะข้อใดก็จะเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาทั้งน้้น   ดังที่กล่าวแล้วว่าพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามีมากมายถึง  ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์ ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ หลักธรรมแต่ละข้อต่างเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน   เนื่องจากวาสนา บารมี ของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน แล้วแต่วาสนา บารม่ีที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน   จะเอาธรรมะอย่างเดียวกันไปสอนแก่ทุกคนเหมือนกันย่อมไม่ได้ผล แล้วแต่อุปนิสัย วาสนาบารมี หรือจริตของแต่ละคน   แม้แต่พระอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่ พระเกจิอาจารย์บางท่าน เมื่อพูดถึงเรื่อง "หัวใจพระพุทธศาสนา" ก็จะพูดแตกต่างกันไป

     เมื่อกล่าวถึงาสนา บารมีของแต่ละบุคคลที่สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อนน้ัน  ข้าพเจ้านึกถึงเรื่องครั้งพุทธกาลสมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่  สมัยน้ันพระจุลบันถกได้เข้ามาบวชในสำนักพระมหาบันถก พระพี่ชาย  พระมหาบันถกได้บอกคาถาให้เอาไปท่องภาวนา ๑ บทมี ๔ บาทว่าดังนี้
     ปัทมัง ยถา โกกนุทัง สุคันธง
     ปาโต สียา ผุลลมวีตคันธง
     อังคึรส ปัสส วิโรจนานัง
     ตปันตมาทิจจมิวันตสิกเข
     (ดอกบัวมีกลิ่นหอม  ย่อมบานแต่เช้า  ไม่ปราศจากกลิ่นฉันใด  จงดูพระอังคีรส(พระพุทธเจ้า)  ผู้รุ่งเรืองอยู่ดุจดวงอาทิตย์อันแจ่มจรัสอยู่กลางหาวฉันน้ัน)
     พระจุลบันถกนั่งท่องอยู่ ๔ เดือนก็ท่องไม่ได้  พระมหาบันถกผู้พี่ชายจึงพูดว่า
     "จุลบันถก  คุณไม่ควรอยู่ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว  คุณออกไปเสียจากทีนี่"
     พระจุลบันถกมีความเสียใจที่พี่ชายออกปากขับไล่ จึงเตรียมตัวจะออกจากสำนักพี่ชายไปสึกในวันรุ่งขึ้น  คร้ันเวลาปัจจุสมัยใกล้สว่าง  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอดส่องพระทศพลญาณดูสรรพสัตว์ที่มีบุญวาสนาบารมีว่าควรจะออกไปโปรดผู้ใด   ก็ทรงพบว่าพระจุลบันถกมีวาสนาบารมี ในชาติก่อนเคยเกิดเป็นพระราชา วันหนึ่งเสด็จประทักษิณเลียบพระนครมีรพะเสโทหลั่งไหลออกมาที่พระนลาฎ  จึงทรงหยิบเอาพระภูษาอันขาวบริสุทธิมาเช็ดพระพักตร์  ทรงแลเห็นว่าผ้าขาวผืนนั้นหมองคล้ำลงด้วยพระเสโท  จึงทรงพระดำริว่า  "ผ้าขาวบริสุทธิ์ เห็นปานฉะนี้  อาศัยสรีระนี้ กลับละปกติขาว  กลายเป็นผ้าเศร้าหมองไป  โอ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้หนอ"  ทรงได้อนิจสัญญาดั่งนี้แล้วแต่ชาติก่อน   ครั้นแล้วก็ทรงเล็งพระญาณเห็นว่า  พระจุลบันถกกำลังจะออกจากสำนักพระมหาบันถกไปสึก  จึงทรงรีบเสด็จไปคอยที่ประตูทางเดิน  ครั้นเห็นพระจุลบันถกเดินมาจึงทรงทักถามตามสมควร แล้วก็ทรงเนรมิตผ้าขาวบริสุทธฺิ์ผื่นหนึงส่งให้พระจุลบันถก และตรัสว่า
     "จุลบันถก ให้เธอบ่ายหน้าไปทางทิศบูรพาลูบผ้าผืนนี้ แล้วบริกรรมว่า "รโช หะระณัง รโช หะระณัง"   พระจุลบันถกก็กระทำตาม ไปนั่งบริกรรมภาวนาอยู่ จนผ้าผื่นนั้นหมองคล้ำลง จึงดำริในใจว่า "ผ้าผืนนี้บริสุทธิ์ยิ่งนัก  แต่อาศัยอัตภาพนี้ ได้ละปกติภาพเสียแล้ว  เป็นของเศร้าหมองไปเช่นนี้  โอสังขารท้ังหลายไม่เที่ยงหนอ"  พระจุลบันถกก็ได้อนิจจสัญญา  ด้วยวาสนาบารมีที่สืบมาแต่ชาติปางก่อน
     ขณะน้ัน พระพุทธเจ้ากำลังประทับรับถวายภัตตาหารอยู่ที่สำนักพระอริยบุคคล อุบาสกคนสำคัญคือหมอชีวกโกมารภัจจ์  ทรงทราบด้วยสัพพัญญตญาณว่า พระจุลบันถกได้อนิจจสัญญาแล้ว  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแบ่งภาค (ภควา  แปลว่า แบ่งภาค)  คือเปล่งพระรัศมีไปยังพระจุลบันถก แล้วตรัสว่่า
     "ดูก่อนจุลบันถก เธออย่าสำคัญว่ เฉพาะแต่ผ้าผื่นนี้เท่านั้นที่เศร้าหมองแล้วละอองธุลีแปดเปื้อนเท่านี้เลย  แท้จริงภายในตัวเธอก็มี "ธุลี" ด้วยเหมือนกัน  เธอจงนำมันออกมาเสีย"
     "ราคะ บัณฑิตเรียกว่า ธุลี คำว่า ธุลี เป็นชื่อของ ราคะ  ภิกษุอยู่ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากธุลีนั้น ละธุลีนี้อยู่  โทสะ บัณฑิตเรียกว่า ธุลี  ธุลีเป็นชื่อของโทสะ ภิกษุท้ังหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากธุลี ละธุลีนี้  โมหะ บัณฑิตเรียกว่า ธุลี คำว่า ธุลี เป็นชือของโมหะ  ภิกษุในธรรมวินัย เป็นผู้ปราศจากธุลีนี้ เป็นผู้ละธุลีนี้"
     พระจุลบัณถกได้สดับพระโอวาทนี้แล้ว  ก็บรรลุธรรมได้ดวงตาเห็นธรรมอันยิ่ง  สำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ  ได้มโนมยิทธิ สำแดงฤทธิ์ได้  ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ทีสำนักของหมอชีวกโกมารภัจจ์  พระผู้มีพระภาคเจ้าทราบด้วยพระญาณว่า  บัดนี้พระจุลบันถกสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้มโนมยิทธิแล้ว  จึงมีพระประสงค์จะแสดงให้สาวกทั้งหลายได้ทราบด้วย  จึงตรัสถามหมอชีวกว่า " ชีวก ยังมีพระภิกษุอยู่ในวิหารอีกหรือไม"  พระมหาบันถกจึงทูลว่า "ไม่มีพระภิกษุในวิหารอีกแล้วมิใช่หรือ พระพุทธเจ้าข้า"  พระบรมศาสดาตรัสว่า "มีซิ ชีวก"  หมอชีวกจึงใช้ให้คนไปดู ขณะน้่นพระจุลบันถกก็ทราบด้วยเจโตปริยญาณว่า  พระพี่ชายพูดว่าไม่มีพระในพระวิหาร  จึงดำริว่า "พี่ชายของเราพูดว่าไม่มีพระในวิหาร เราจะประกาศความจริงที่มีพระภิกษุอยู่ในวิหารให้เธอทราบ"   ครั้นแล้ว  ก้กระทำด้วยมโนมยิทธิ  ให้อัมพวันอุทยานน้ันเต็มไปด้วยพระภิกษุถึง  ๑๐๐๐ องค์ กำลังทำกิจการของวัดอยู่ต่างๆ กัน   เมื่อคนที่ไปตามเห็นพระมีอยู่มากมาย ก็กลับไปบอกแก่หมอชีวกว่า ในอุทยานเต็มไปด้วยพระภิกษุ พระบรมศาสดาจึงตรัสแก่ชายนั้นว่า "เธอจงกลับไปบอกพระจุลบันถกว่า พระตถาคตสั่งให้พระจุลบันถกไปเฝ้า"  ชายนั้นก็กลับไปเรียกหาพระจุลบันถก  พระทั้งนั้นก็บอกว่าท่านชื่อพระจุลบันถกเหมือนกันทุกองค์   จึงกลับมาทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า   "เธอจงกลับไปใหม่  ไปจับมือพระที่พูดขึ้่นก่อนว่า  "ฉันชื่อจุลบันถก"  พระนอกนั้นก็จะอันตรธานไปหมดเอง"    ชายน้ันจึงไปกระทำตามพระบัญชา  จึงได้พระจุลบันถกมาเฝ้าฉันภ้ตตาหารในวันนั้น คร้ันฉันเสร็จแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสแก่หมอชีวกว่า  "ชีวก เธอจงรับบาตรของพระจุลบันถกไว้  จุลบันถกจะกล่าวอนุโมทนาแก่เธอ"  หมอชีวกจึงรับบาตรพระจุลบันถกก็กล่าวอนุโมทนาด้วยโวหารธรรมกินใจความครอบคลุมไปครบถ้วนพระสัทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เป็นที่อัศจรรย์แก่พระภิกษุทั้งหลาย  และพระภิกษุทั้งหลายจึงทราบว่าบัดนี้พระจุลบันถกสำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ ต้ังแต่วันนั้น
     พระจุลบันถกบริกรรมภาวนาว่า  "รโช หะระณัง รโช หะระณัง"  (ผ้าเช็ดละออง ผ้าเช็ดละออง)   เพียงเท่านี้  ตามอุปนิสัยวาสนาบารมีที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน  คร้ันได้บรมครูสอนให้ถุกทางก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ  ครั้นสำเร็จแล้วก็มีมโนมยิทธิ สามารถแสดงฤทธิ์ทางจิตเจตสิก รู้แจ้งธรรมอื่นๆ ทั้งตลอดถึงกันได้หมด ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงมอบหน้าที่เทศนาให้พระจุลบันถก ทั้งๆที่แต่ก่อนนั้นพระพี่ชายเห็นว่าพระจุลบันถกนี้โง่เขลานัก ถึงแก่ออกปากขับไล่  แต่พระมหาบันถกกลับไม่ได้ปฎิสัมภิทาญาณเหมือนพระจุลบันถกพระน้องชาย  เพราะวาสนาบารมีที่สั่งสมมาน้ันแตกต่างกัน  
   
     เพราะฉนั้น ข้าพเจ้าจึงอยากจะสรุปว่า หัวใจพระพุทธศาสนาน้ัน ชี้ลงที่หลักธรรมข้อใด้ก็เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาท้้งน้ัน เพราะหลักธรรมแต่ละข้อมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน  ซึ่งนำไปสู่สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นหา คือ ทางพ้นทุกข์ นั่นเอง

                                                               เทพ  สุนทรศารทูล
                                                                                             
                                                               ๕ ตุลาคม ๒๕๓๑ 

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

มหาแดง





ชีวิตข้าราชการ

๐ ขีวิตข้าราชการงานเล่นโขน
กระโดดโจนเต้นร่าตามหน้าที่
  เป็นพระลักษณ์พระรามก็ตามที
                                เป็นกระบี่ดีชั่วหรือตัวยักษ์

                               

                                 ๐ ล้วนแต่สวมหัวโขนโผนผงาด    
                               สวมบทบาทออกท่ารักษาศักดิ์
                               มักจะหลงลืมตัวไปชั่วพัก
                               อารมณ์รักอารมณ์ชังมันฝังใจ

                                ๐ กว่าจะรู้สึกตัวคนหัวโขน
                               ก็โดดโจนเหนื่อยโขเสโทไหล
                               ได้ค่าข้าวค่าเหล้าไม่เท่าไร
                               ต้องกลับไปเป็นคนธรรมดา

                               ๐ เหมือนใบไม้หลุดพรากลงจากต้น
                                 ปลิวลงไปปะปนกับต้นหญ้า
                                 ถูกฝนแดดแผดส่องพสุธา
                                 รอเวลาถมพื้นปถพี

             
                                 ชีวิตที่แปลกพิสดารยิ่งกว่านิยาย
                                      คือ ชีวิตของมหาแดง

                            ๐  ผู้รับราชการกระทรวงมหาดไทยต้ังแต่อายุ ๒๔ ปีจนเกษียณอายุ ๖๐ ปี  นับเป็นเวลา ๓๖ ปี  เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดมาท้ั้งสิ้น  ๒๐ คน
                            ๐ แต่เขามีชีวิตราชการที่โลดโผนพิสดาร  ไม่เหมือนใคร   เป็นชีวิตที่แข็งแกร่งเหมือนดาบฟ้าฟื้นของขุนแผนที่ชุบด้วยเหล็กน้ำพี้พระแสงทรง
                            ๐ ชีวิตข้าราชการของเขามีคติธรรมสูงมาก  เป็นปรัชญาที่ล้ำลึกน่าศึกษาที่สุด
                             ๐ ข้าราชการทุกคน ควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง   ข้าราชการคนใดไม่ได้อ่านเรื่องนี้  ก็เปรียบเหมือนไม่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลกของข้าราชการพลเรือน
                              ๐ ข้าราชการคนใดได้อ่านชีวประวัติของมหาแดงแล้ว  จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง   เหมือนดังว่าหิมะถูกแสงพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน  


                     

                               
    



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร



คำนำ

    
     พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนี้   เขียนขึ้นโดยคำขอร้องของพระมหาสมยศ เจ้าอาวาสวัดในกลาง   อำเภอบ้านแหลม  จังหวัดเพชรบุรี   เนื่องจากท่านประสงค์จะสร้างพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระะจ้าตากสินมหาราชขึ่้นที่วัดในกลาง   พระอารามหลวงที่พระองค์ทรงสร้างอุทิศพระราชกุศลให้แก่กรมพระเทพามาตย์ (นกเอื้ยง)   พระราชมารดาซึ่งมีนิวาสสถานอยู่ที่ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม  จังหวัดเพชรบุรี  โดยเหตุที่พระราชมารดาเป็นนางพราหมณี  ชาวตำบลน้ัน

     การเขียนเรืองนี้ได้เขียนตามพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี  ซึ่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ได้จดไว้ในสมัยน้ันเป็นหลักสำคัญ   ประกอบกับพระราชประวัติของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท(บุญมา)  ซึ่งพระยาอนุชิตบาญชัยด้เขียนไว้ประกอบกัน  ด้วยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา)  เป็นทหารเอกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  มีพระราชประวัติเกี่ยวเนื่องกัน   พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้่าตากสินมหาราชเรื่องนี้จึงเขียนตามเอกสารหลักฐานที่มีอยู่   สมควรเชื่อถือได้แน่นอน  ไม่ได้เขียนแบบเกร็ดพงศาวดารที่มีการแต่งเติมเสริมต่อประการใด   ไม่ได้เขียนแบบสันนิษฐานหรือคาดคะเนเอาแต่อย่างใด   หวังว่าท่านผู้อ่านสนใจในประวัติศาสตร์คงจะเป็นที่พอใจที่จะได้อ่านเรื่องจริงในประวัติศาสตร์มากกว่าอ่านเอาสนุกในเชิงนวนิยาย  

                                         
                                                                                          เทพ    สุนทรศารทูล

                                                                                         ๒๐  มิถุนายน  ๒๕๔๕

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มนต์ คาถา อาคม ในพระพุทธศาสนา



คำนำ

     พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นท่ามกลางศาสนาพราหมณ์โบราณ  ศากยวงศ์ของพระพุทธเจ้าของเรานับถือศาสนาพราหมณ์มาแต่ด้ังเดิม  เมื่อเจ้าชายสัทธัตถกุมารประสูติน้้น   พระเจ้าสุทโธนทนะก็ทรงนิมนต์พราหมณ์ ๑๐๘ องค์มาฉันภัตตาหารในวัง ให้พราหมณ์ดูดวงชะตา  และให้พราหมณ์คิดพระนามถวายด้วย  พระนามสิทธัตถกุมาร ก็คือชื่อที่พราหมณ์ถวายตามตำราโหราศาสตร์

     ในศาสนาพราหมณ์  นักพรตต้องเรียน  "ไตรเพท"  คือ  ฤคเวทหนึ่ง  ยชุรเวทหนึ่ง  สามเวทหนึ่ง  ภายหลังมีอาถรรพเวทอีกหนึ่ง   ไตรเพทคือวิชชาสาม ในพระเวทเหล่าน้้นล้วนแต่มีคำสวดสาธยายมนต์  ล้วนแต่เป็นมนต์สรรเสริญพระเจ้า   มนต์อธิษฐานจิตต่อพระเจ้า   มนต์อ้อนวอนพระเจ้า  มนต์เข้าฌานภาวนากระทำสมาธิจิต  พราหมณ์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์    เพราะได้ฌานสมาบัติขั้นจตุตถฌา  รูปฌาน  อรูปฌาน  อากิญจัญญายตนฌาน  วิญญาญัญจายตนฌาน  เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน   ที่เรียกว่า  ฌานสมาบัติชั้นสุงจนถึงฌานที่ ๘ ได้ตาทิพย์ หูทิพย์ ถอดจิตได้ แสดงฤทธิ์ได้ เหาะได้  หายตัวได้ ไปปรากฎตัวในที่ห่างไกล
        พระพุทธเจ้าก็เรียนสำเร็จฌานสมาบัติชั้นสูงแล้ว  จากพระอาจารย์อาฬารดาบส  กาลามโคตร อุทกดาบส รามบุตร  แตทรงทราบว่าเป็นฌานโลกีย์  เสื่อมได้  ไม่ใช่หนทางดับทุกข์  จึงทรงลาจากอาจารย์ทั่้งสองไปแสวงหาทางพ้นทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน  ตายแล้วไม่เกิดเป็นอมตะเทพ  เป็นวิสุทธิเทพ เป็นเทวาติเทพ  หรือเป็น  "พระเจ้า"    สูงสุดในพระนิพพานเมืองแก้ว   ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป  ทรงต้ังพระธรรมวินัยใหม่ขึ้นมาในท่ามกลางศาสนาพราหมณ์น้ันเอง   คนที่เข้ามาบวช จะเป็นเบญจวัคคคีย์ทั้ง  ๕ จะเป็นฤาษีกัสสปะ  ๑๐๐๐ องค์น้ันล้วนแต่เป็นพระฤาษี เป็นดาบส  เป็นนักพรต  เป็นพระสิทธา  ในศาสนาพราหมณ์เก่าทั้งสิ้น  พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๒๕๐ องค์รุ่นแรกน้ันคือพระฤาษีชีไพรในศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น   พระฤาษีเหล่านี้ลวนแต่เชียวชาญในพระเวท เคยสวดมนต์ เคยสาธยายมนต์ เคยเชี่ยวชาญในเวทมนต์มาก่อนทั้งสิ้น  เคยทราบมาอย่างดีจากการปฎิบัติว่า ในต์น้ันคือเครืองมือในการบำเพ็ญตบะ   ก่อให้เกิดฤทธิ์เดช ก้อให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฎิหารย์นานาประการ   เพราะมนต์ทำให้จิตสงบเกิดฌานสมาบัติ  แม้พระพุทธเจ้าเองก็ทรงเชียวชาญมาก่อน  จนแสดงฤทธิได้อย่างเชียวชาญ  สามารถปราบพยศของพระอุรุเวละกัสสปะ  พระคยากัสสปะ  พระนทีกัสสปะให้หายพยศได้   จนเข้ามามอบตัวเป็นพระสาวกรุ่นแรกก็ด้วยทรงมีอิทธิฤทธิ์ปาฎิหารย์เหนือพระฤาษีทั้ง  ๓ พระฤาษีทั้ง ๓ จึงนำพระสาวกมาบวชหมดสิ้น   ประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ที่แท้จริง 

     เพราะเหตุนี้เมื่อพระพุ่ทธองค์ทรงต้ังพระธรรมวินัยขึ้นแล้ว  จึงมิได้ทอดทิ้งเวทมนต์ คาถาจึงทรงบอกมนต์คาถาให้พระสาวกไปสวดสาธยาย

     ในพระพุทธศาสนาจึงมีครบบริบูรณ์ ทั้ง เวท, มนต์, คาถา, อาคม  

     ใครว่าพระพุทธศาสนาไม่มีเวทมนต์ คาถา จึงเป็นการพูดเดาสวด  พูดโดยไม่มีความรู้ทางพระธรรมวินัย  พูดโดยไม่มีครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอน  พูดโดยไม่ทันได้ศึกษาหาความรู้ให้รู้แจ้ง  พูดแบบนกแก้วนกขุนทอง พูดโดยการเดาสวด ส่งเดช อวดรู้  พูดแบบโมฆะบุรุษ  บุรุษคัมภีร์เปล่า (จำพวกไาม่มีศีล ไม่มีธรรม ไม่มีหลักการ ไม่มีอุดมคติ)  

      มนุษย์อย่างนี้มาีมากขึ้นมากมายในปัจจุบันสมัย คนพวกนี้ไมเคยบวช  ไม่เคยเรียน  ไม่มีครู ไม่มีอาจารย์ ที่รู้จริงในพระพุทธศาสนา  เป็นพวกศึกษามาแต่ทางโลก ตามแบบฝรั่ง  แต่เขาเป็นฝร่ั่งข้ี้นก คนพวกนี้จะเป็นไทยก็ไม่ใช่ ฝรั่งก็ไม่เชิง  เข้าไม่ได้ท้ังทางไทยและฝรั่ง  คือฝรั่งเขาไม่นับถือคนพวกนี้ เขากลับมานับถือพระสงฆ์ไทยที่แท้จริง  เขากราบไหว้พระอย่างหลวงพ่อชา   เขาเข้ามาบวชอยู่กับพระนักปฎิบัติ  

     พระพุทธเจ้าตรัสไว้นานแล้ว กว่า ๒๕๐๐ปีมาว่า 
     ๑.พุทธวิสัยอย่างหนึ่ง
     ๒. ฌานวิสัยอย่างหนึ่ง
    ๓. กรรมวิสัยอย่างหนึ่ง
    ๔.โลกวิสัยอย่างหนึ่ง

     วิสัยท้ังสี่  เป็นเรื่องไม่ควรคิด เป็นเรื่องเหลือคิด  เป็นเรื่องเหนือเหตุผล ท่านเรียกว่า "อจินไตย" พ้นที่จะคิด พ้นที่จะตรึกตรองเอาตามหลักตรรกวิทยา
     
     เช่น  คิดว่าเหตุไฉนพระพุทธเจ้าจึงทรงแจ้งโลก เหตุใดจึงระลึกชาติหนหลังได้นับร้อยชาติพันชาติ  เหตุไฉนจึงรู้ถึงเรื่องการเกิดการตายของสรรพสัตว์ เหตุไฉนจึงทรงทราบย้อนหลังได้นับแสนปี เหตุไฉนจึงทรงทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้นับพันปี  เหตุไฉนจึงทรงอิทธิปาฎิหารย์เหลือเกินจนผิดมนุษย์สามัญทั้่งปวง
     คิดอย่างนี้แล้วหัวแตกเปล่า ไม่สามารถจะคิดออกได้เลย  เพราะนี่คือ พุทธวิสัย  เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่าน้ัน 
     หรือคิดว่าเหตุไปนพระฤาษีชีไพรบางองค์จึงอดอาหารได้นับเดือนนับปีแต่ไม่ตาย  อย่างโยคีหญิงองค์หนึ่งในอินเดียชือโยคีคีรี  ไม่เคยกินอาหารเลยมาหลายปีแล้ว  แต่ยังมีชีวิตอยู่  อย่างนี้คิดไม่ได้หาเหตุผลไม่ได้  เพราะนั่นคือ ฌานวิสัย
     หรือคิดว่าเหตไฉนกรรมจึงให้ผลข้ามภพข้าพชาติ ทำกรรมไว้แต่ชาติก่อนด้วยการทุบตบตีบิดามารดาแล้วมาเกิดในชาตินี้เป็นพระโมคคัลานะ ก็มาถูกโจรทุบตี   เพราะน่ันคือ วิสัยของกรรม

    การที่จะมานั้งคิดว่าเหตุไฉนมนต์จึงศักดิ์สิทธิ์ก็คิดไม่ได้  เพราะนั่นคือ ฌานวิสัย หรือจะเรียกว่าจิตวิสัยหรือมนต์วิสัยก็ได้  เพราะมนต์เกิดจากอำนาจจิต  อำนาจจิตเกิดจากฌาน น่ันคือฌานวิสัย  ที่แปรรูปมาเป็นมนต์วิสัย คนไม่เคยเรียนก็ไม่รู้  คิดไมออกว่ามันมาอย่างไร  มนต์จึงศักดิ์สิทธิ์เพราะมนต์บทเดียวกันคนหนึ่งสาธยายมนต์นี้แล้วสะเดาะกุญแจออก  แต่คนหนึ่งสาธยายแล้วก็นิ่งเฉย ไม่เกิดผลเลย  น่ันคือมนต์สะเดาะกุญแจทีมีอยุ่ ๔ คำ ว่า  "จะ ภะ กะ สะ"

     มนต์ในพระพุทธศาสนามีครบถ้วน
   
     ๑.เวท   คือท่านเอาพระอภิธรรมมาสวดสาธยาย   เช่น กุสลา  ธัมมา  อะกุสลา  ธัมมา  เป็นมนต์สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา  เพราะเอาเนื้อแท้ของพระปรมัตถธรรมมาสวด
     ๒. มนต์  คือ ท่านเอาพระสูตรมาสวด  เช่น รัตนสูตร  อาฎานาฎิยสูตร  เมตตสูตร  ดั่งเช่นทีท่านนำมาสวดในเจ็ดตำนาน  สิบสองตำนาน
     ๓. คาถา  คือ ท่านนำเอาคำย่อในคำสอนจากพระสูตรมาสวด  เช่น  "สันติ ปักขา  อะปัตตะนา สันติ  ปาทา อะวัญจะนา  มาตา ปิตา จะ นิกขันตา  ชาตะเวทะ  ปะฎิกกะมะ"   จากพระสูตรเรื่องเสวยชาติเป็นนกคุ่มโพธิสัตว์ ท่านเอามาสวดทำยันต์กันไฟไหม้
    ๔.  อาคม  คือ ท่านแต่งบทคาถาขึ้นใหม่  อ้างเอาพระพุทธคุณมาตั้งสัตยาธิษฐาน  เช่น  พุทธชัยมงคลคาถา ที่สมเด็จพระวันรัตน์ท่านแต่งขึ้นเป็นพระอาคมถวายพระนเรศวรมหาราช  ที่เราเรียกกันว่า  พาหุงแปดบทนั่นคือ อาคม ซึ่งแปลว่า นำเอามาใช้ เรียกเอามาใช้  อาราธนามาใช้

    พระพุทธศาสนามีเวท มนต์ คาถา อาคม มากที่สุดกว่าศาสนาใดๆ ในโลกนี้

     มนต์ในพระพุุทธศาสนา ท่านสวดสาธยายเพื่อจุดประสงค์ ดังต่อไปนี้ คือ
     ๑.สรรเสริญ  พระรัตนตรัย  ในภาษามคธ ท่านเรียกว่า  "ปณาน"
     ๒.อธิษฐาน  ท่านใช้คำว่า  "ตั้งสัตยาธิษฐาน"
     ๓.รำลึกถึง  พระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ  ในภาษามคธ ท่านใช้คำว่า  "สรณะ"
     ๔.นอบน้อม  สาธยายเพื่อนอบน้อม  สักการะบูชา  กราบไหว้ ท่านใช้คำว่า นะโม  นมัสการ  ซึงแปลว่า นอบน้อม
    ๕. อาราธนา  เรียกร้อง เชื้อเชิญ  เอาพระพุทธคุณมาคุ้มครองป้องกันสรรพภุัย
     ๖. ถวายชีวิต  ต่อพระรัตนตรัย  เช่น พุทธัง  ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สรณัง คัจฉามิ  ขอถวายชีวิตต่อพระพุทธเจ้าจนตลอดชีวิต  จนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน

     ๑. มนต์บทแรกที่พระบรมศาสดาทรงส่ังสอนพระอริยสาวกคือ "อิติปิโส ภะคะวา"   โดยตรัสว่า  "ดูก่อนภิกษุทั่้งหลาย ถ้าหากวาเธอเกิดความกลัว  หวาดหวั่นพรั่นพรึง  ขนพองสยองเกล้า เมื่อเธอเข้าไปอยู่ป่าก็ดี สุ่โคนไม้ใหญ่ก็ดี  สู่เรือนร้างก็ดี  สมัยน้ันเธอทั้งหลาย  พึงสวดระลึกถึงเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า   "อิติปิโส ภะคะวา ฯลฯ"   เมือเธอทั้่งหลายตามระลึกถึงเราผู้มีรัศมีแบ่งภาคได้  ความกลัว ความหวาดหวั่นพร่ันพรึง ขนพองสยองเกล้าจักหายไป  เพราะตถาคตเป็นอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า  ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ  เป็นผู้ไม่กลัว  ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจ ไม่หนี ...."

     ๒. มนต์บทที่สองที่พระบรมครูตรัสสั่งสอนพระอริยสาวกคือ  "สะวากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม"  โดยตรัสสั่งสอนพระอริยสาวกว่า
      "ถ้าเธอไม่ระลึกถึงตถาคต  ก็จงระลึกถึงพระธรรมว่า  "สะวากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม ฯลฯ "  ความกลัว ความหวาดหวั่นพร่ันพรึง ขนพองสยองเกล่้า ก็จักหายไป"

     ๓. มนต์บที่สาม  ที่พระบรมครูทรงส่ังสอนพระอริยสาวกคือ "สุปะฎิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ฯลฯ"
    "ถ้าเธอมไ่ระลึกถึงพระธรรม  เธอก็จงระลึกถึงพระอริยสงฆ์  ดังนี้ว่า  "สุปะฎิปันโน ภะคะโต สาวะกะสังโฆ ฯลฯ"  ความกลัว ความหวาดหวั่นพร่ันพรึง ขนพองสยองเกล้าก็จักหายไป"

     ทรงส่ังสอนว่า
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็ผู้ใดแลตามระลึกถึงตถาคต หรือตามระลึกถุึงพระธรรม  หรือตามระลึกถึงพระอริยสงฆ์  มีศรัทธาต้ังมั่นถึงโดยส่วนเดียวด้วยความเลือมใสยิ่งแล้ว   ความระลึกของผู้นั้นเป็นความระลึกอย่างยิ่งกว่าความระลึกทั้งปวง    เพราะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งปวง  เพื่อก้าวพ้นจากความโศกปริเทวนาการ  เพื่อก้าวล่วงแห่งทุกข์โทมนัส  เพื่อบรรลุพระอริยมรรค  เครืองนำสัตว์หลุดพ้นจากกองทุกข์  เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง..."

     ๔. มนต์บทที่สี่คือ รัตนสูตร  ที่พระบรมครูบอกให้หมู่สงฆ์สวดสาธยายเมื่อเมื่องเวสาลีเกิดโรคห่าระบาด ผู้คนล้มตายจำนวนมาก   เมื่อพระสงฆ์สวดสาธยายมนต์๋บทนี้จบลง  ฝนก็ตกลงมาเจิ่งนองท่วมพื่นดินชำระล่้างโรคให้ละลายไปตามน้ำ  ชาวเมืองก็หายจากโรคห่าน้ัน
     
     ๕. มนต์บทที่ห้าคือ  อุณหิสวิชโย  ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกแก่เทพบุตรชื่อ สุปฎิตเทพบุตรในดาวดึงส์  เม่ื่อเทพบุตรองค์น้้นจะหมดบุญต้องลงมาเกิดในมนุษย์โลก  เทพบุตรองค์น้้นยังไม่อยากจุติลงมาเกิดจึงถามพระพุทธองค์ว่ามีมนต์บทใดบ้าง ที่สวดแล้วอายุยืนยาวต่อไป  พระพุทธองค์จึงทรงบอกมนต์บทนี้ให้  พระภิกษุสงฆ์จึงนำมาสวดในการทำบุญต่ออายุให้แก่พุทธศาสนิกชนมาแต่โบราณกาล

     ๖. มนต์บทที่หก  คือ  "ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต..." ที่ทรงบอกอุปเท่ห์แก่พระองคุลีมาลให้เอาไปสวดสาธยายให้หญิงคลอดบุตรง่าย ที่โบราณาจารย์เอามาใช้ทำน้ำมนต์คลอดบุตรง่าย

     ๗. มนต์บทที่เจ็ด คือ "สันติ ปักขา อะปัตตะนา..." ที่ทรงเล่าว่าพระองค์เคยเสวยพระชาติเป็นนกคุ่ม ไฟป่าลุกลามมา  จึงว่ามนต์บทนี้ไฟผ่าก็ดับลง  โบราณจารย์จึงนำมาทำยันต์กันไฟไหม้ จารึกพระคาถา   ๔ บาทน้้น

     นี่คือ ตัวอย่างมนต์ที่มีมาแต่สมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนมายุอยู่ มนต์ในพระพุทธศาสนามีมาต้ังแต่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนมายุอยู่ในโลกนี้ พระพุทธองค์นั่นแหละเป็นผู้บอกมนต์ไว้หลายบท  พุทธศาสนิกชนยังนำมาสวดสาธยายอยู่จนทุกวันนี้  มนต๋์ในพระพุทธศาสนามีครบถ้วน คือ

     ๑.พระเวท  เอาพระอภิธรรมมาสวด
     ๒. พระมนต์ เอาพระสูตรมาสวด
     ๓.พระคาถา ตัดตอนเอาคำสั่งสอนที่ศักดิ์สิทธิ์มาสวดสั้นๆ
     ๔.พระอาคม  พระเกจิอาจารย์แต่งขึ้นใหม่  อ้างเอาพระรัตนตรัยมาเป็นอานุภาพ

     เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าพระพุทธมนต์ในพระพุทธศาสนามีอยุู่มากมาย จึงขอนำเอามนต์ศักดิ์สิทธิ์ของโบราณมาเผยแพร่เพื่อให้ท่องจำสวดมนต์กันต่อไป   ใครมีบุญอันได้เคยสั่งสมมา ย่อมไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะท่องจำไว้ใช้สวดสาธยายต่อไป

     วิธีที่ดีที่สุดในการท่องบทสวดมนต์คือ  เอามาอ่านตามตัวหนังสือทุกวันในเวลาสวดมนต์ อ่านนับร้อยนับพันครั้งแล้ว  ย่อมจะคล่องปาก จำได้ขึ้นใจเองเหมือนพระสงฆ์ท่องพระปาฎิโมกข์น่ันแล

     ข้าพเจ้าเผยแพร่พระพุทธมนต์นี้เอาบุญ  ไม่ได้ทำเป็นการค้าหากำไรแต่อย่างใดเลย  ใครซื้อหามาอ่านก็จงอนุโมทนาบุญด้วยเถิ  การอนุโมทนาบุญก็ย่อมได้บุญเหมือนกัน  ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเราน้ัน  บอกบุญก็ได้บุญ  อย่าได้สงสัยแคลงใจเลย

     การศึกษาพระธรรมมน้ันนั่งตรึกตรองเอาเองตามเหตุผลไม่ได้ ต้องมีครู มีอาจารย์ชี้ทางสวรรค์นิพพานไให้จึงไม่หลงทาง   การศึกษาพระธรรมในพระพุทธศาสนานี้ ท่านตรัสรู้ ท่านสั่งสอน ท่านวางหลักเกณฑืไว้แล้ว  

     บทสวดมนต์น้้นคือสื่อใจ  เป็นอาวุูธของนักพรตคือบทสวดมนต์  บทสวดมนต์คือไม้เท้า บทสวดมนต์คือเครื่องยึดมันของจิตให้มีพลัง  จิตจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน แส่ออกไปนอกกาย  ถ้าไม่มีมนต์เป็นอาวุธ นักพรตจะไม่มีหลักยึดเหนี่ยวของจิต  จิตจะฟุ้งซ่านเลื่อนลอย  จะไม่มีสมาธิ  เมื่อไม่มีสมาธิ เหมือนแสงอาทิตย์ส่งอไปทั่่วทิศ ไม่มีพลังมาก แต่เมื่อเอากระจกเว้ากระจกนูนมาส่องแสงอาทิตย์ให้รวมแสง  จะมีพลังเผาไหม้เกิดเป็นไฟแรงกล้า

     มนต์นี้เป็นของโบราณ สืบทอดกันมานานนับพันปี  เป็นมนต์ของพระพุทธเจ้าโดยตรงก็มี เช่น บทอิติปิโส สะวากขาโต  สุปะฎิปันโน  เป็นมนต์บทแรกของพระพุทธเจ้า  เป็นมนต์ของพระอรหันต์ก็มี เป็นมนต์ของพระเกจิอาจารยืก็มี  พระเกจิอาจารย์แปลว่า พระอาจารย์ชั่้นยอด  มนต์บทพาหุงน้ันคือมนต์ของพระวันรัตน์ บทสวดมนต์เหล่านี้จดจำกันมานาน  ตกมาจนถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์(มา)วัดสามปลื้ม และพระครุมงคลญาณสุนทร (ผ่องจินดา)  พระเกจิอาจารย์ผู้มีชือ่เสียง  ผู้บวชถวายชีวิตอุทิศพระราชกุศลให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั  จนมรณภาพในผ้าเหลือง    ได้ต้นฉบับมา เมื่อท่านมรณภาพลง คณะศิษย์ได้นำมาเผยแพร่

     ปัจจุบันนี  เป้นยุคที่คนมีวิจิกิจฉามา โดยเฉพาะวิจิกิจฉาในการสวดมนต์ว่ามีผลหรือไม่ก็ยุ่งยากใจที่จะเชือ  ผมจึงนำบทสวดมนต์มาาเผยแพร่เอาบุญ

                                             
                                                                                       เทพ    สุนทรศารทูล

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระธรรมบทไตรพากย์ พระธรรมบทคำโคลง (คำนำ)





คำนำ

     พระธรรมบท (บทแห่งพระธรรม)  ๔๖๓ บท หรือ ๔๒๓ พระธรรมขันธ์นี้ เป็นคัมภีร์สำคัญมาก  ผู้อ่านจะได้ความรู้ในหลักธรรมคำตรัสสอนของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าครอบคลุมไป  เปรียบเสมือนมองดูต้นโพธิพฤกษ์สูงใหญ่เห็นช่อใบ กิ่งก้านสาขา ลำต้น รากขวัญที่งอกงามออกไป  จนรู้จักว่าต้นโพธิพฤกษ์ต้นสูงใหญ่นี้  เมื่อไปพบเห็นต้นโพธิพฤกษ์ที่ไปงอกอยู่ที่ไหนอีกก็จำได้ทันทีว่านี่คือต้นโพธิ   เป็นลูกของต้นโพธิพฤกษ์ต้นเดิมมาแพร่พันธ์ุอยู่  

     คัมภีร์พระธรรมบทนี้  มีตำนานสืบเนื่องมาช้านาน   คือ  
     
     ๑. พระภิกษุชาวอินเดีย  ได้รวบรวมเอาคำตรัสสอนในพระสุตตันตปิฎกมาร้อยกรองเป็นคำฉันท์ในภาษาบาลีแบ่งออกเป็นหมวดธรรม  ๒๖  หมวด  รวม  ๔๒๓  ข้่อ  หรือ  ๔๒๓ พระธรรมขันธ์  เป็นยุคแรก

     ๒. พระภิกษุ สังฆรัตนะ  แห่งมหาโพธิสภา  แห่งเมืองสารนาถ ประเทศอินเดีย  ได้แปลออกเป็นภาษาสันสกฤต  ในอักษรเทวนาครี  นับเป็นยุคที่สอง

     ๓. พระภิกษุ A.P. BUDDHADATTAMAHATHERA  AGGARAMA , AMBALANGODA ,COLOMBO, CEYLON  ได้แปลออกเป็นภาษาอังกฤษในประเทศศรีลังกา  เป็นยุคที่สาม

     ๔. พระสุวิมลธรรมมาจารย์ (สวัสดิ์ ควงโต)  วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ  ได้แปลออกมาเป็นภาษาไทย  เมื่อ พ.ศ.  ๒๕๑๐ เป็นยุคที่สี่ 

     ๕. พ.อ.ทวิช เปล่งวิทยา   ได้นำเอาทั้ง ๓ เรื่องข้างต้นน้้น  มาทำเป็นภาษาขอมเพิ่ม  ซึ่่งเป็นอักษรที่ ๔ พิมพ์โรเนียวออกเผยแพร่   เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔  เรียกว่า   "ธรรมบทปัญจพากย์"   คือ อักษรเทวนาครี  อักษรขอม  อักษรไทยภาษาบาลี คำแปลร้อยแก้วภาษาไทย  และภาษาอังกฤษที่ท่านทำไว้ก่อนแล้ว    เพียงแต่เป็นอักษรขอมขึ้นอีกแบบหนึ่ง  ฉบับนี้สมบรูณ์ที่สุด  นับเป็นยุคที่ ๕

     ๖. ข้าพเจ้านายเทพ  สุนทรศารทูล  ได้รจนาเป็นภาษากวีในรูปของโคลงสี่สุภาพ    เพื่อรักษาแบบโบราณไว้   ทั้งนี้เพราะพระธรรมบทน้้นท่านก็รจนาไว้เป็นคำฉันท์ในภาษาบาลีมาแต่แรก  ไม่ใช่ภาษาร้อยแก้วธรรมดา   จึงนำมารจนา   เป็นภาษาบาลีตามแบบฉันทลักษณ์ในภาษาไทย   แบบโคลงสี่สุภาพ  เพื่อรักษาประเพณีเดิมเอาไว้   อ่านแล้วจะได้รับอรรถรสในแบบธรรมรสในภาษาบาลีอันไพเราะกว่าภาษาร้อยแก้ว  เรืองนี้ได้แต่งไว้นานถึง ๒๐ ปีแล้ว  จึงเห็นว่าสมควรจะพิมพ์เผยแพร่  ดีกว่าทิ้งไว้ให้สาบสูญไปเสียเปล่าประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน   คร้ังนี้นับเป็นยุคที่  ๖ 

     ๗. ต่อมา  เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ ราชบัณฑิตยสถานได้จัดทำ  "พระธรรมบทจตุรภาค" ขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวายเนื่องในมหาวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ  ๕ รอบ  เมือวันที่  ๕ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๐  โดยได้เปลี่ยนแปลงสำนวนแปลภาษาไทย  และภาษาอังกฤษผิดเพี้ยนไปจากที่ท่านธรรมบัณฑิตแต่เก่าก่อนได้ทำไว้ใน  ๔ ยุค   มีถ้อยคำสำนวนไม่เหมือนเดิม  คร้ังนี้นับเป็นยุคที่  ๗ 

      นี่คือประวัติอันสืบเนื่องยาวนานมาของการจัดทำ "พระธรรมบท"  คัมภีร์อันสำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา  ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา ถ้าหากว่าไม่ได้อ่านพระธรรมบท  ก็เรียกว่ายังศึกษาพระพุทธศาสนาไม่กว้างขวางพอ  จึงสมควรอ่านคัมภีร์พระธรรมบทนี้โดยทั่วกัน  

                                                                    
                                                                                             เทพ   สุนทรศารทูล

                                                                                            ๒๔   มกราคม  ๒๕๔๕











วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สุภาษิตสอนหญิง




     หลักฐานสำคัญที่นายเทพ สุนทรศารทูล วิเคระห์ว่าวรรณคดีเรื่องนี้เป็นของนายภู่  ธรรมทานาจารย์  ไม่ใช่วรรณคดีของสุนทรภุุ่ คือ สุนทรภู่แต่งกลอนไม่เคยมีคำไหว้ครูเลยแม้แต่เรื่องเดียว แต่สุภาษิตสอนหญิงนี้มีคำไหว้ครู ซึ่งนายเทพ สุนทรศารทูลได้ศึกษาต่อไปว่าบทกลอนนี้เป็นของกวีผูู้ใด ก็ได้พบว่า นายภู่ ธรรมทานาจารย์ อดีตสมภารวัดสระเกศ เป็นกวีผู้หนึ่งซึ่งได้แต่งกลอนไว้หลายเรื่อง และทุกเรื่องมีคำไหว้ครู โดยใช้สำนวนกลอนไหว้ครูอย่างเดียวกันทุกเรื่อง คือ
๑.พระสมุทรคำกลอน
๒.นครกายคำกลอน
๓.นกกระจาบคำกลอน
๔.จันทโครบคำกลอน
๕.สุภาษิตสอนหญิงคำกลอน
๖.พระรถนิราศคำกลอน



หลักฐานสำคัญที่ได้พบจากการศึกษาคือ ลักษณะคำกลอนใน "สุภาษิตสอนหญิง" นี้ไม่ใช่ฝีปากของสุนทรภู่
โดยลักษณะคำกลอนของสุนทรภู่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ ๑๑ประการ คือ
๑.หลั่งไหล
๒.ไว้สง่า
๓ภาษาตลาด...
๔.สัมผัสพราว
๕.เท้าความหลัง
๖.ฟังแจ่มแจ้ง
๗.แสดงอุปไมย
๘.ใช้คำตาย
๙.ระบายอารมณ์
๑๐.คำคมสุภาษิต
๑๑.แนวคิดกวี


แต่ลักษณะคำกลอน"สุภาษิตสอนหญิง"ไม่มีลักษณะดังกล่าว ลักษณะคำกลอนไม่มีลักษณะหลั่งไหลพรั่งพรู คำกลอนมีลักษณะสัมผัสกระโดดซึ่งสุนทรภู่ไม่นิยมใช้ , คำกลอนไม่มีลักษณะไว้สง่าว่าเป็นกวีชั้นครู ขึ้นต้นก็ไหว้พระรัตนตรัย
คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงไม่ใช้ภาษาตลาดดังสุนทรภู่ใช้ แต่กลับใช้ศัพท์แสงสูงหลายแห่ง


"แม้ว่าภัสดาเข้าไสยาสน์
จงกราบบาททุกครั้งอย่าพลั้งหลง"



"ด้วยชนกชนนีมีพระเดช
ได้ปกเกศเกศามาจนใหญ่
อุ้มอุทรป้อนข้าวมาเท่าไร
หวังจะได้พึ่งพาธิดาดวง"


คำกลอนสุภาษิตสอนหญิง  ไม่พบการท้าวความหลัง คำกลอนไม่แจ่มกระจ่างเท่าคำกลอนสุนทรภู่
คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงเป็นลักษณอุปมาโวหาร ไม่เป็นลักษณะอุปไมยโวหาร(คือยกเอาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ) ดังคำกลอนสุภาษิตสอนหญิงคือ
"อันตัวนางเปรียบอย่างปทุมเมศ
พึงประเวศผุดพ้นชลสาย
หอมผกาเกสรขจรขจาย
มิได้วายภุมรินถวิลปอง"


คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงใช้คำตายอยู่ ๒-๓ แห่งแต่ไม่แนบเนียนเท่าสุนทรภู่
คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงแสดงอารมณ์ต่างจากคำกลอนสุนทรภู่ คำกลอนสุนทรภู่แสดงอารมณ์รักใคร่ สงสาร เห็นอกเห็นใจ ให้อภัย แต่ในสุภาษิตสอนหญิงแสดงอารมณ์โกรธ เกลียดเหยียดหยามสตรีเพศ
แนวคิดของกวีทำให้บทกวีแตกต่างกัน โดยแนวคิดของสุนทรภู่กล่าวถึงความไม่แน่นอนของชีวิต ความไม่จริงใจต่อกัน กล่าวถึงสตรีด้วยความรักใคร่ แต่แนวคิดของสุภาษิตสอนหญิงนี้ ส่ังสอนให้สตรีรักนวลสงวนตั


และจากการศึกษาทำให้ทราบว่า คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงนี้มีลักษณะเหมือนคำกลอนหลายๆเรื่องที่นายภู่ ธรรมทานาจารย์แต่งไว้ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น จึงทำให้วิจัยได้ว่า คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงนี้ เป็นฝึปากของนายภู่ ธรรมทานาจารย์
 







วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

กาพย์พญากงพญาภาณ



กาพย์พญากงพญาภาณ


เรื่อง "พญากงพญาภาณ" เป็นตำนารเมืองนครปฐมในยุคทวาราวดี ดังคำนำที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า "ข้าพเจ้าเป็นชาวนครปฐม จึงมีความฝังใจในเรื่องตำนารพญากงพญาภาณมาแต่เด็ก.... ข้าพเจ้าจึงได้แต่งเป็น "กาพย์พญากงพญาภาณ" ไว้ให้เป็นหลักฐานอ้างอิงกันต่อไปเป็นรูปธรรม ไม่สูญหายไปเสีย..เป็นธรรมเนียมของกวีโบราณ ท่านย่อมเล่นกาพย์กลอนกลบทแผลงไปต่างๆ มากมาย คำกาพย์พญากงพญาภาณเรื่องนี้ จึงได้คิดคำกาพย์ขึ้นใหม่อีก ๑๖ แบบ เพื่อให...้กวีรุ่นหลังไม่เบือหน่ายกับคำกาพย์โบราณ ๔แบบ คือ กาพย์ยานี กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ฉบัง กาพย์ขับไม้ "

คำกาพย์ที่คิดขึ้นใหม่ ประกอบด้วย
๑.กาพย์เสือคำรณ ๑๕
๒.กาพย์พญาพายเรือ ๑๒
๓.กาพย์นาคีลีลาศ ๑๒
๔.กาพย์นาคราชลีลา ๑๐
๕.กาพย์ม้าสะบัดย่าง ๑๗
๖.กาพย์คลื่นกระทบฝั่ง ๑๓
๗.กาพย์ไก่แก้วขันขาน ๑๑
๘.กาพย์นางพญายุรยาตร ๑๓
๙.กาพย์สาริกาจำเรียง ๑๖
๑๐.กาพย์ฝนสั่งฟ้า ๑๖
๑๑.กาพย์ช้างบำรูงา ๑๔
๑๒.กาพย์สำเนียงโพระดก ๑๔
๑๓.กาพย์คลืนกระทบฝั่ง ๑๓
๑๔.กายพ์หงส์เหินนภา ๑๓
๑๕.กาพย์นกเขาคู ๑๐
๑๖.กาพย์กาเหว่ากู่ ๑๐

ดร.นิจ หิญชีระนันทน์ อธิบดีกรมผังเมือง(พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๔) ได้เขียนยกย่องงานเขียน "กาพย์พญากงพญาภาณ" (ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายเทพ สุนทรศารทูล) ว่า "กายพ์พญากงพญาภาณเป็น Masterpiece (ราชบัณฑิตยสถานแปลว่า ผลงานยอดเยี่ยม) ในชีวิตกวีของท่านทีเดียว จากที่อาจารย์เทพ เป็นอัจฉริยกวีผู้มีพรสวรรค์ สามารถแต่งกาพย์กลอนกลบทได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วเหมือนน้ำไหล จากคำนำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ใช้เวลาแต่ง๔๕ วัน หยุดแต่งเสีย ๑๕ วันเพื่อดูหนังสือสอบเลื่อนชั้น จีงมีเวลาแต่งจริงๆเพียง ๓๐ วัน"

คำกาพย์พญากงพญาภาณนี้ เริ่มต้นเป็นคำกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระคเณศ พระพรหม พระอินทร์ พระสยามเทวาธิราช พระเจ้าอย่หัว พระราชินี พญากง พญาภาณ บิดา มารดา ครู อุปัชฌาชย์ พระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพ พระสุริยา พระจันทรา และท้าวจตุโลกบาล 

บทสุดท้ายของเรื่อง ได้ฝากโคลงสี่สุภาพไว้ดังนี้้

"ฝากนามนักกาพย์ไว้           ไม่สูญ
เทพ สุนทรศารทูล               เทียบไว้
พระปฐมพระปโทณมูล        ดินราบ ลงเฮย
คำกาพย์ยังอยู่ให้               โลกรู้ภายหลังฯ"






หนังสือ "กาพย์พญากงพญาภาณ" พิมพ์คร้ังที่ ๒ ในโอกาสที่พระครูปราการลักษาภิบาล เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว จังหวัดนครปฐม ขออนุญาตพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นธรรมทานทำบุญวัดปีพ.ศ.๒๕๔๐ เนื่องจากได้ให้ช่างจิตรกรรมเขียนภาพเรื่องพญากงพญาภาณ ไว้บนฝาผนังอุโบสถวัดใหม่ปิ่นเกลียว เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบโบราณ โดยพระครูปราการลักษาภิบาลมีแนวคิดเขียนภาพจิตรกรรมนี้ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาตำนาร พญากงพญาภาณแต่โบราณ คู่กับประวัติการสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม