วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สุภาษิตสอนหญิง




     หลักฐานสำคัญที่นายเทพ สุนทรศารทูล วิเคระห์ว่าวรรณคดีเรื่องนี้เป็นของนายภู่  ธรรมทานาจารย์  ไม่ใช่วรรณคดีของสุนทรภุุ่ คือ สุนทรภู่แต่งกลอนไม่เคยมีคำไหว้ครูเลยแม้แต่เรื่องเดียว แต่สุภาษิตสอนหญิงนี้มีคำไหว้ครู ซึ่งนายเทพ สุนทรศารทูลได้ศึกษาต่อไปว่าบทกลอนนี้เป็นของกวีผูู้ใด ก็ได้พบว่า นายภู่ ธรรมทานาจารย์ อดีตสมภารวัดสระเกศ เป็นกวีผู้หนึ่งซึ่งได้แต่งกลอนไว้หลายเรื่อง และทุกเรื่องมีคำไหว้ครู โดยใช้สำนวนกลอนไหว้ครูอย่างเดียวกันทุกเรื่อง คือ
๑.พระสมุทรคำกลอน
๒.นครกายคำกลอน
๓.นกกระจาบคำกลอน
๔.จันทโครบคำกลอน
๕.สุภาษิตสอนหญิงคำกลอน
๖.พระรถนิราศคำกลอน



หลักฐานสำคัญที่ได้พบจากการศึกษาคือ ลักษณะคำกลอนใน "สุภาษิตสอนหญิง" นี้ไม่ใช่ฝีปากของสุนทรภู่
โดยลักษณะคำกลอนของสุนทรภู่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ ๑๑ประการ คือ
๑.หลั่งไหล
๒.ไว้สง่า
๓ภาษาตลาด...
๔.สัมผัสพราว
๕.เท้าความหลัง
๖.ฟังแจ่มแจ้ง
๗.แสดงอุปไมย
๘.ใช้คำตาย
๙.ระบายอารมณ์
๑๐.คำคมสุภาษิต
๑๑.แนวคิดกวี


แต่ลักษณะคำกลอน"สุภาษิตสอนหญิง"ไม่มีลักษณะดังกล่าว ลักษณะคำกลอนไม่มีลักษณะหลั่งไหลพรั่งพรู คำกลอนมีลักษณะสัมผัสกระโดดซึ่งสุนทรภู่ไม่นิยมใช้ , คำกลอนไม่มีลักษณะไว้สง่าว่าเป็นกวีชั้นครู ขึ้นต้นก็ไหว้พระรัตนตรัย
คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงไม่ใช้ภาษาตลาดดังสุนทรภู่ใช้ แต่กลับใช้ศัพท์แสงสูงหลายแห่ง


"แม้ว่าภัสดาเข้าไสยาสน์
จงกราบบาททุกครั้งอย่าพลั้งหลง"



"ด้วยชนกชนนีมีพระเดช
ได้ปกเกศเกศามาจนใหญ่
อุ้มอุทรป้อนข้าวมาเท่าไร
หวังจะได้พึ่งพาธิดาดวง"


คำกลอนสุภาษิตสอนหญิง  ไม่พบการท้าวความหลัง คำกลอนไม่แจ่มกระจ่างเท่าคำกลอนสุนทรภู่
คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงเป็นลักษณอุปมาโวหาร ไม่เป็นลักษณะอุปไมยโวหาร(คือยกเอาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ) ดังคำกลอนสุภาษิตสอนหญิงคือ
"อันตัวนางเปรียบอย่างปทุมเมศ
พึงประเวศผุดพ้นชลสาย
หอมผกาเกสรขจรขจาย
มิได้วายภุมรินถวิลปอง"


คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงใช้คำตายอยู่ ๒-๓ แห่งแต่ไม่แนบเนียนเท่าสุนทรภู่
คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงแสดงอารมณ์ต่างจากคำกลอนสุนทรภู่ คำกลอนสุนทรภู่แสดงอารมณ์รักใคร่ สงสาร เห็นอกเห็นใจ ให้อภัย แต่ในสุภาษิตสอนหญิงแสดงอารมณ์โกรธ เกลียดเหยียดหยามสตรีเพศ
แนวคิดของกวีทำให้บทกวีแตกต่างกัน โดยแนวคิดของสุนทรภู่กล่าวถึงความไม่แน่นอนของชีวิต ความไม่จริงใจต่อกัน กล่าวถึงสตรีด้วยความรักใคร่ แต่แนวคิดของสุภาษิตสอนหญิงนี้ ส่ังสอนให้สตรีรักนวลสงวนตั


และจากการศึกษาทำให้ทราบว่า คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงนี้มีลักษณะเหมือนคำกลอนหลายๆเรื่องที่นายภู่ ธรรมทานาจารย์แต่งไว้ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น จึงทำให้วิจัยได้ว่า คำกลอนสุภาษิตสอนหญิงนี้ เป็นฝึปากของนายภู่ ธรรมทานาจารย์
 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น