วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หัวใจพระพุทธศาสนา


คำนำ

     เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ บริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทยได้จัดให้มีการประกวดแต่งหนังสือเรื่อง "หัวใจพระพุทธศาสนา"  ข้าพเจ้าสนใจศึกษาเรื่องนี้มาช้านาน   มีเพื่อนฝูงมาเชียร์ให้ข้าพเจ้าแต่งเรื่องนี้ส่งประกวด ข้าพเจ้าไม่กล้าแต่งประกวด แต่ได้เขียนขึ้น  และพิมพ์แจกในงานทอดกฐินสามัคคีวัดช้างเผือก  อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามที่ข้าพเจ้าเป็นประธานเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ๒๕๓๑
   
      ข้าพเจ้าเขียนเรื่องหัวใจพระพุทธศาสนานี้ก็มุ่งหมายเพื่อจะอธิบายว่า  หัวใจพระพุทธศาสนาน้ั้น ชี้ลงไปที่ธรรมะข้อใดก็จะเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาทั้งน้้น   ดังที่กล่าวแล้วว่าพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามีมากมายถึง  ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์ ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ หลักธรรมแต่ละข้อต่างเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน   เนื่องจากวาสนา บารมี ของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน แล้วแต่วาสนา บารม่ีที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน   จะเอาธรรมะอย่างเดียวกันไปสอนแก่ทุกคนเหมือนกันย่อมไม่ได้ผล แล้วแต่อุปนิสัย วาสนาบารมี หรือจริตของแต่ละคน   แม้แต่พระอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่ พระเกจิอาจารย์บางท่าน เมื่อพูดถึงเรื่อง "หัวใจพระพุทธศาสนา" ก็จะพูดแตกต่างกันไป

     เมื่อกล่าวถึงาสนา บารมีของแต่ละบุคคลที่สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อนน้ัน  ข้าพเจ้านึกถึงเรื่องครั้งพุทธกาลสมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่  สมัยน้ันพระจุลบันถกได้เข้ามาบวชในสำนักพระมหาบันถก พระพี่ชาย  พระมหาบันถกได้บอกคาถาให้เอาไปท่องภาวนา ๑ บทมี ๔ บาทว่าดังนี้
     ปัทมัง ยถา โกกนุทัง สุคันธง
     ปาโต สียา ผุลลมวีตคันธง
     อังคึรส ปัสส วิโรจนานัง
     ตปันตมาทิจจมิวันตสิกเข
     (ดอกบัวมีกลิ่นหอม  ย่อมบานแต่เช้า  ไม่ปราศจากกลิ่นฉันใด  จงดูพระอังคีรส(พระพุทธเจ้า)  ผู้รุ่งเรืองอยู่ดุจดวงอาทิตย์อันแจ่มจรัสอยู่กลางหาวฉันน้ัน)
     พระจุลบันถกนั่งท่องอยู่ ๔ เดือนก็ท่องไม่ได้  พระมหาบันถกผู้พี่ชายจึงพูดว่า
     "จุลบันถก  คุณไม่ควรอยู่ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว  คุณออกไปเสียจากทีนี่"
     พระจุลบันถกมีความเสียใจที่พี่ชายออกปากขับไล่ จึงเตรียมตัวจะออกจากสำนักพี่ชายไปสึกในวันรุ่งขึ้น  คร้ันเวลาปัจจุสมัยใกล้สว่าง  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอดส่องพระทศพลญาณดูสรรพสัตว์ที่มีบุญวาสนาบารมีว่าควรจะออกไปโปรดผู้ใด   ก็ทรงพบว่าพระจุลบันถกมีวาสนาบารมี ในชาติก่อนเคยเกิดเป็นพระราชา วันหนึ่งเสด็จประทักษิณเลียบพระนครมีรพะเสโทหลั่งไหลออกมาที่พระนลาฎ  จึงทรงหยิบเอาพระภูษาอันขาวบริสุทธิมาเช็ดพระพักตร์  ทรงแลเห็นว่าผ้าขาวผืนนั้นหมองคล้ำลงด้วยพระเสโท  จึงทรงพระดำริว่า  "ผ้าขาวบริสุทธิ์ เห็นปานฉะนี้  อาศัยสรีระนี้ กลับละปกติขาว  กลายเป็นผ้าเศร้าหมองไป  โอ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้หนอ"  ทรงได้อนิจสัญญาดั่งนี้แล้วแต่ชาติก่อน   ครั้นแล้วก็ทรงเล็งพระญาณเห็นว่า  พระจุลบันถกกำลังจะออกจากสำนักพระมหาบันถกไปสึก  จึงทรงรีบเสด็จไปคอยที่ประตูทางเดิน  ครั้นเห็นพระจุลบันถกเดินมาจึงทรงทักถามตามสมควร แล้วก็ทรงเนรมิตผ้าขาวบริสุทธฺิ์ผื่นหนึงส่งให้พระจุลบันถก และตรัสว่า
     "จุลบันถก ให้เธอบ่ายหน้าไปทางทิศบูรพาลูบผ้าผืนนี้ แล้วบริกรรมว่า "รโช หะระณัง รโช หะระณัง"   พระจุลบันถกก็กระทำตาม ไปนั่งบริกรรมภาวนาอยู่ จนผ้าผื่นนั้นหมองคล้ำลง จึงดำริในใจว่า "ผ้าผืนนี้บริสุทธิ์ยิ่งนัก  แต่อาศัยอัตภาพนี้ ได้ละปกติภาพเสียแล้ว  เป็นของเศร้าหมองไปเช่นนี้  โอสังขารท้ังหลายไม่เที่ยงหนอ"  พระจุลบันถกก็ได้อนิจจสัญญา  ด้วยวาสนาบารมีที่สืบมาแต่ชาติปางก่อน
     ขณะน้ัน พระพุทธเจ้ากำลังประทับรับถวายภัตตาหารอยู่ที่สำนักพระอริยบุคคล อุบาสกคนสำคัญคือหมอชีวกโกมารภัจจ์  ทรงทราบด้วยสัพพัญญตญาณว่า พระจุลบันถกได้อนิจจสัญญาแล้ว  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแบ่งภาค (ภควา  แปลว่า แบ่งภาค)  คือเปล่งพระรัศมีไปยังพระจุลบันถก แล้วตรัสว่่า
     "ดูก่อนจุลบันถก เธออย่าสำคัญว่ เฉพาะแต่ผ้าผื่นนี้เท่านั้นที่เศร้าหมองแล้วละอองธุลีแปดเปื้อนเท่านี้เลย  แท้จริงภายในตัวเธอก็มี "ธุลี" ด้วยเหมือนกัน  เธอจงนำมันออกมาเสีย"
     "ราคะ บัณฑิตเรียกว่า ธุลี คำว่า ธุลี เป็นชื่อของ ราคะ  ภิกษุอยู่ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากธุลีนั้น ละธุลีนี้อยู่  โทสะ บัณฑิตเรียกว่า ธุลี  ธุลีเป็นชื่อของโทสะ ภิกษุท้ังหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากธุลี ละธุลีนี้  โมหะ บัณฑิตเรียกว่า ธุลี คำว่า ธุลี เป็นชือของโมหะ  ภิกษุในธรรมวินัย เป็นผู้ปราศจากธุลีนี้ เป็นผู้ละธุลีนี้"
     พระจุลบัณถกได้สดับพระโอวาทนี้แล้ว  ก็บรรลุธรรมได้ดวงตาเห็นธรรมอันยิ่ง  สำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ  ได้มโนมยิทธิ สำแดงฤทธิ์ได้  ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ทีสำนักของหมอชีวกโกมารภัจจ์  พระผู้มีพระภาคเจ้าทราบด้วยพระญาณว่า  บัดนี้พระจุลบันถกสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้มโนมยิทธิแล้ว  จึงมีพระประสงค์จะแสดงให้สาวกทั้งหลายได้ทราบด้วย  จึงตรัสถามหมอชีวกว่า " ชีวก ยังมีพระภิกษุอยู่ในวิหารอีกหรือไม"  พระมหาบันถกจึงทูลว่า "ไม่มีพระภิกษุในวิหารอีกแล้วมิใช่หรือ พระพุทธเจ้าข้า"  พระบรมศาสดาตรัสว่า "มีซิ ชีวก"  หมอชีวกจึงใช้ให้คนไปดู ขณะน้่นพระจุลบันถกก็ทราบด้วยเจโตปริยญาณว่า  พระพี่ชายพูดว่าไม่มีพระในพระวิหาร  จึงดำริว่า "พี่ชายของเราพูดว่าไม่มีพระในวิหาร เราจะประกาศความจริงที่มีพระภิกษุอยู่ในวิหารให้เธอทราบ"   ครั้นแล้ว  ก้กระทำด้วยมโนมยิทธิ  ให้อัมพวันอุทยานน้ันเต็มไปด้วยพระภิกษุถึง  ๑๐๐๐ องค์ กำลังทำกิจการของวัดอยู่ต่างๆ กัน   เมื่อคนที่ไปตามเห็นพระมีอยู่มากมาย ก็กลับไปบอกแก่หมอชีวกว่า ในอุทยานเต็มไปด้วยพระภิกษุ พระบรมศาสดาจึงตรัสแก่ชายนั้นว่า "เธอจงกลับไปบอกพระจุลบันถกว่า พระตถาคตสั่งให้พระจุลบันถกไปเฝ้า"  ชายนั้นก็กลับไปเรียกหาพระจุลบันถก  พระทั้งนั้นก็บอกว่าท่านชื่อพระจุลบันถกเหมือนกันทุกองค์   จึงกลับมาทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า   "เธอจงกลับไปใหม่  ไปจับมือพระที่พูดขึ้่นก่อนว่า  "ฉันชื่อจุลบันถก"  พระนอกนั้นก็จะอันตรธานไปหมดเอง"    ชายน้ันจึงไปกระทำตามพระบัญชา  จึงได้พระจุลบันถกมาเฝ้าฉันภ้ตตาหารในวันนั้น คร้ันฉันเสร็จแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสแก่หมอชีวกว่า  "ชีวก เธอจงรับบาตรของพระจุลบันถกไว้  จุลบันถกจะกล่าวอนุโมทนาแก่เธอ"  หมอชีวกจึงรับบาตรพระจุลบันถกก็กล่าวอนุโมทนาด้วยโวหารธรรมกินใจความครอบคลุมไปครบถ้วนพระสัทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เป็นที่อัศจรรย์แก่พระภิกษุทั้งหลาย  และพระภิกษุทั้งหลายจึงทราบว่าบัดนี้พระจุลบันถกสำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ ต้ังแต่วันนั้น
     พระจุลบันถกบริกรรมภาวนาว่า  "รโช หะระณัง รโช หะระณัง"  (ผ้าเช็ดละออง ผ้าเช็ดละออง)   เพียงเท่านี้  ตามอุปนิสัยวาสนาบารมีที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน  คร้ันได้บรมครูสอนให้ถุกทางก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ  ครั้นสำเร็จแล้วก็มีมโนมยิทธิ สามารถแสดงฤทธิ์ทางจิตเจตสิก รู้แจ้งธรรมอื่นๆ ทั้งตลอดถึงกันได้หมด ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงมอบหน้าที่เทศนาให้พระจุลบันถก ทั้งๆที่แต่ก่อนนั้นพระพี่ชายเห็นว่าพระจุลบันถกนี้โง่เขลานัก ถึงแก่ออกปากขับไล่  แต่พระมหาบันถกกลับไม่ได้ปฎิสัมภิทาญาณเหมือนพระจุลบันถกพระน้องชาย  เพราะวาสนาบารมีที่สั่งสมมาน้ันแตกต่างกัน  
   
     เพราะฉนั้น ข้าพเจ้าจึงอยากจะสรุปว่า หัวใจพระพุทธศาสนาน้ัน ชี้ลงที่หลักธรรมข้อใด้ก็เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาท้้งน้ัน เพราะหลักธรรมแต่ละข้อมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน  ซึ่งนำไปสู่สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นหา คือ ทางพ้นทุกข์ นั่นเอง

                                                               เทพ  สุนทรศารทูล
                                                                                             
                                                               ๕ ตุลาคม ๒๕๓๑ 

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น