หนังสือ"ชีวประวัติพระสุนทรโวหาร
(ภู่ ภู่เรือหงส์)
เผยแพร่โดยนายเทพ
สุนทรศารทูล ผู้ศึกษาค้นคว้าประวัติและผลงานของสุนทรภู่ เป็นเวลานานถึง ๓๕
ปีเต็มนับแต่พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึงพ.ศ. ๒๕๓๐
นายเทพ สุนทรศารทูล
หนังสือ "ชีวประวัติพระสุนทรโวหาร (ภู่
ภู่เรือหงส์) นี้เป็นการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ประวัติสุนทรภู่ที่ค้นพบใหม่หลายประการ
จากคำนำบางตอนของนายเทพ สุนทรศารทูล ดังนี้
"
ข้าพเจ้า ขอเสนอทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับสุนทรภู่ให้ท่านผู้สนใจพิจารณากันใหม่ เป็นการเสนอด้วยจิตใจที่เคารพต่อท่านมหากวีเอกผู้ล่วงลับไปแล้ว ไม่บังควรจะพูดถึงท่านในทางเสื่อมเสียเกียรติยศ เพราะท่านไม่สามารถมาแก้ตัวอะไรได้เลย
แม้บทกวีที่มิใช่ของท่านก็ไม่บังควรจะไปโมเมว่าเป็นของท่าน เพราะจะทำให้บทกวีของท่านเสือมเศร้าหมองลงไปด้วย ตัวอย่างเช่น เพลงยาวสุภาษิตสอนหญิง ที่ฝีปากไม่ถึงขั้นมหากวีผู้นี้เลย บทกวีนี้มีคำไหว้ครูซึ่งเป็นสำนวนเดียวกันกับนายภู่ จุลละภมร และสุนทรภู่แต่งบทกวีก็ไม่เคยใช้คำไหว้ครูเลยแม้แต่เรื่องเดียว
หรือแม้กลอนที่ไพเราะเพราะพริ้งเกินกลอนสุนทรภู่ อย่างนิราศอิเหนาของกรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์ ก็ต้องถวายพระเกียรติยศให้ท่านเจ้าชายนักกวี โอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขัติยกวีพระองค์นั้น
แม้บทกวีที่มิใช่ของท่านก็ไม่บังควรจะไปโมเมว่าเป็นของท่าน เพราะจะทำให้บทกวีของท่านเสือมเศร้าหมองลงไปด้วย ตัวอย่างเช่น เพลงยาวสุภาษิตสอนหญิง ที่ฝีปากไม่ถึงขั้นมหากวีผู้นี้เลย บทกวีนี้มีคำไหว้ครูซึ่งเป็นสำนวนเดียวกันกับนายภู่ จุลละภมร และสุนทรภู่แต่งบทกวีก็ไม่เคยใช้คำไหว้ครูเลยแม้แต่เรื่องเดียว
หรือแม้กลอนที่ไพเราะเพราะพริ้งเกินกลอนสุนทรภู่ อย่างนิราศอิเหนาของกรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์ ก็ต้องถวายพระเกียรติยศให้ท่านเจ้าชายนักกวี โอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขัติยกวีพระองค์นั้น
ข้าพเจ้า ขอเรียนว่า
คนที่จะรู้ฝืมือของนักดนตรี จะต้องเป็นนักดนตรีด้วยกัน
คนทีจะรู้ฝืมือของนักกวีจะต้องเป็นนักกวีด้วยกัน คนทีไม่ใช่นักกวี คงจะแยกแยะไมออกว่า
คำกวีอย่างไหน เป็นฝืมือนักกวีระดับใด
คนที่จะวิจารณ์บทกวีของสุนทรภู่ได้ดี ควรเป็นกวีที่เข้าถึงอารมณ์กวี
มีความชำนาญในอรรถรสของกวีพอสมควร "
ประวัติสุนทรภู่ที่พบใหม่หลายประการมีดังนี้
๑.สุนทรภู่เกิดเมื่อ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ในรัชกาลที่๑ เวลา ๘.๐๐ น. ลัคนาอยู่ราศีกรกฎ อังคารศุกร์กุมลัคนา เสาร์ราหูเล็งลัคน์ พฤหัสบดีอยู่ราศีเมษ
๑.สุนทรภู่เกิดเมื่อ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ในรัชกาลที่๑ เวลา ๘.๐๐ น. ลัคนาอยู่ราศีกรกฎ อังคารศุกร์กุมลัคนา เสาร์ราหูเล็งลัคน์ พฤหัสบดีอยู่ราศีเมษ
๒. บิดาของสุนทรภู่ ชื่อ ขุนศรีสังหาร(พลับ)
ต่อมาได้บวชเป็นพระครูธรรมรังษี เจ้าคณะเมืองแกลงฝ่ายอรัญวาสี
เทียบเท่าเจ้าคณะจังหวัดในปัจจุบัน
๓. มารดาชื่อช้อย เป็นชาวแปดริ้ว เป็นแม่นมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระราชธิดาของกรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอินทร์) กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง)
๓. มารดาชื่อช้อย เป็นชาวแปดริ้ว เป็นแม่นมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระราชธิดาของกรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอินทร์) กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง)
๔. สุนทรภู่ เป็นข้าราชการ เจ้ากรมราชบัณฑิตอยู่ในวังหน้า ในสังกัดกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข(วังหลัง) เนื่องจากมารดาเป็นแม่นมพระธิดาในวังหลัง ซึ่งตามทำเนียบนามข้าราชการวังหลังในกรมพระอาลักษณ์ และกรมราชบัณฑิต ไม่มีตำแหน่ง
"ขุนสุนทรโวหาร" มีแต่ตำแหน่ง "พระสุนทรโวหาร" สังกัดกรมพระอาลักษณ์ และตำแหน่ง "หลวงสุนทรโวหาร" สังกัดกรมราชบัณฑิตย์
จึงสันนิษฐานได้ว่า สุนทรภู่ ได้เป็นหลวงสุนทรโวหาร เจ้ากรมราชบัณฑิตอยู่ในวังหลัง
จึงสันนิษฐานได้ว่า สุนทรภู่ ได้เป็นหลวงสุนทรโวหาร เจ้ากรมราชบัณฑิตอยู่ในวังหลัง
เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขสวรรคต จึงโอนมาสังกัดวังหน้า สมัยกรมพระราชวังบวรอิศรสุนทร (คือพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) พ.ศ.๒๓๕๐
สุนทรภู่ได้ติดตามมารับราชการในวังหลวง เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทร ได้ขึ้่นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ชีวิตสุนทรภู่รุ่งเรืองที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๒ ในตำแหน่งหลวงสุนทรโวหาร เจ้ากรมราชบัณฑิต
ครั้นสิ้นรัชกาลที่ ๒ สุนทรภู่ได้ออกบวชตลอดรัชกาลที่ ๓ นานกว่า ๒๐พรรษาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๖๙- พ.ศ.๒๓๘๘
ในระหว่างออกบวช สุนทรภู่ได้แต่งบทกวีนิพนธ์ไว้หลายเรื่องเมื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
๕. ลักษณะนิราศสุนทรภู่ เป็นลักษณะ"บรรยายโวหาร" ให้เห็นภูมิประเทศบ้านเมืองไปตลอดการเดินทาง,การขึ้นต้นนิราศ ไม่มีคำว่า"นิราศ"
เหมือนคนอื่น, นิราศสุนทรภู่ทุกเรื่องจะกล่าวถึงความรักความหลัง,สุนทรภู่ใช้ภาษาธรรมดา คือภาษาตลาดเป็นพื้นๆ
,คำกลอนสุนทรภู่มีสัมผัสนอกสัมผัสในแพรวพราว เป็นลักษณะสัมผัสอักษร สัมผัสเสียง สัมผัสสระเพิ่มความไพเราะ
คำกลอนสุนทรภู่เป็นลักษณะแบบครูกลอนครูกวี แต่งกลอนโอ่อ่า ภูมิฐาน ไม่มีคำไหว้ครู ไม่มีคำออกตัว
สุนทรภู่ถนัดมากในการใช้คำตายลงท้ายกลอน ใช้ได้อย่างไม่ติดขัดเก้อเขิน แสดงถึงความเป็นกวีทียอดเยี่ยม เพราะคำตายนี้แต่งยาก
คำกลอนสุนทรภู่ จะสอดแทรกอยู่ด้วยถ้อยคำสุภาษิตเสมอ คำคมสุภาษิตของท่านผูกเป็นถ้อยคำที่กระทัดรัด สอดคล้องกันทั้งถ้อยคำสำนวน เป็นคำกลอนที่ไพเราะกินใจคน ทำให้ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์
แนวคิดของกวีย่อมแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของชีวิต, การศึกษา,และการสังคมของกวี แนวคิดของสุนทรภู่ คือ ความไม่แน่นอน ความไม่ซื่อตรงของมนุษย์,และวาจาของคนเราก่อให้เกิดคุณและโทษได้
,คำกลอนสุนทรภู่มีสัมผัสนอกสัมผัสในแพรวพราว เป็นลักษณะสัมผัสอักษร สัมผัสเสียง สัมผัสสระเพิ่มความไพเราะ
คำกลอนสุนทรภู่เป็นลักษณะแบบครูกลอนครูกวี แต่งกลอนโอ่อ่า ภูมิฐาน ไม่มีคำไหว้ครู ไม่มีคำออกตัว
สุนทรภู่ถนัดมากในการใช้คำตายลงท้ายกลอน ใช้ได้อย่างไม่ติดขัดเก้อเขิน แสดงถึงความเป็นกวีทียอดเยี่ยม เพราะคำตายนี้แต่งยาก
คำกลอนสุนทรภู่ จะสอดแทรกอยู่ด้วยถ้อยคำสุภาษิตเสมอ คำคมสุภาษิตของท่านผูกเป็นถ้อยคำที่กระทัดรัด สอดคล้องกันทั้งถ้อยคำสำนวน เป็นคำกลอนที่ไพเราะกินใจคน ทำให้ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์
แนวคิดของกวีย่อมแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของชีวิต, การศึกษา,และการสังคมของกวี แนวคิดของสุนทรภู่ คือ ความไม่แน่นอน ความไม่ซื่อตรงของมนุษย์,และวาจาของคนเราก่อให้เกิดคุณและโทษได้
๖. งานกวีนิพนธ์ของสุนทรภู่มีดังนี้คือ
๖.๑ นิทานเรื่องโคบุตร
นิทานชาดกแต่งเมื่ออยู่วัดอรุณฯแต่งถวายพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ เมื่อพ.ศ.๒๓๔๗
สุนทรภู่อายุ๑๘ ปี
๖.๒ นิราศเมืองแกลง นิราศเรื่องแรก
แต่งเมื่อเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง แต่งให้นางจันทร์คนรักคนแรกเมื่อพ.ศ.๒๓๕๐
อายุ ๒๐ปี
๖.๓ นิราศพระบาท เป็นนิราศเรื่องที่สอง แต่งเมื่อเดินทางโดยเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท
สระบุรี พ.ศ.๒๓๕๐ แต่งเมื่อกลับมาอยู่วัดอรุณฯ
๖.๔ นิราศเมืองเพชร แต่งเมื่ออาสาพระปิ่นเกล้า ฯ (ครั้งยังทรงประยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์) เพื่อเดินทางไปเมืองเพชรบุรี
๖.๕ นิราศภูเขาทอง แต่งเมื่อพ.ศ.๒๓๗๑ อายุได้
๔๒ปีแต่งเมื่ออยู่วัดราชบูรณะ
๖.๖ นิราศสุพรรณคำโคลง เป็นคำโคลงที่ไพเราะ แต่งเมือพ.ศ.๒๓๘๔
๖.๗ เพลงยาวรำพรรรพิลาป แต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เมื่อพ.ศ.๒๓๘๕
แต่งเมื่่ออยู่วัดเทพธิดา
๖.๘ เพลงยาวสวัสดิรักษา แต่งถวายกรมขุนอิศเรศรังสรรค์
พระเจ้าน้องยาเธอในพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๖.๙ เพลงยาวถวายโอวาท แต่งถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์กับเจ้าฟ้ามหามาลา
พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒
๖.๑๐ เพลงเสภาเรืองพระราชพงศาวดาร แต่งถวายพระจอมเกล้าฯ
ตามที่ทรงขอให้กวีช่วยกันแต่ง
๖.๑๑ เพลงเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
สุนทรภู่แต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
๖.๑๐ นิราศปธม แต่งเมื่อเดินทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
เป็นนิราศเรื่องสุดท้ายของสุนทรภู่
๖.๑๑ พระอภัยมณี แต่งถวายเจ้าฟ้ามงกุฎกับเจ้าฟ้าจุฑามณี
เมื่อบวชอยู่วัดราชบูรณะ และต่อมาได้แต่งต่อถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เมื่ออยู่วัดเทพธิดา
๖.๑๒ สิงหไตรภพ แต่งถวายพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออยู่วัดพระเชตุพน
ระหว่างพ.ศ.๒๓๖๘-๒๓๗๐
๖.๑๓ ลักษณวงศ์
แต่งถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระราชโอรสของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทกวีที่ค้นพบใหม่ และต้องเพิ่มเข้าเป็นบทกวีของสุนทรภู่คือ "สุภาษิตโลกนิติคำกลอน"
แต่งเมื่อจำพรรษาอยู่วัดสระเกศ พ.ศ.๒๓๘๖-๒๓๙๓
"สุภาษิตโลกนิติคำกลอน" นี้มีสาระสุภาษิตตรงกับสุภาษิตโลกนิติคำโคลงของสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศรโดยตลอดต้ังแต่ต้นจนปลาย
ลักษณะคำกลอนของ "สุภาษิตโลกนิติคำกลอน" นี้มีลักษณะของคำกลอนสุนทรภู่แท้ มีความไพเราะทั้งถ้อยคำและความหมาย, คำขึ้นต้นคำกลอนอย่างไว้สง่า,ภาคภูมิ สมเป็นกวีชั้นครู ไม่มีคำถ่อมตัว ไม่มีคำออกตัว
คำลงท้ายคำกลอนทุกเรื่อง สุนทรภู่ลงท้ายไว้อย่างเชิงครูกวี ลงท้ายแบบสง่า ไม่มีวกวน ไม่อ้อมค้อม ไม่มีอ้อยอิ่งอะไรเลย
"สุภาษิตโลกนิติคำกลอน" นี้มีสาระสุภาษิตตรงกับสุภาษิตโลกนิติคำโคลงของสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศรโดยตลอดต้ังแต่ต้นจนปลาย
ลักษณะคำกลอนของ "สุภาษิตโลกนิติคำกลอน" นี้มีลักษณะของคำกลอนสุนทรภู่แท้ มีความไพเราะทั้งถ้อยคำและความหมาย, คำขึ้นต้นคำกลอนอย่างไว้สง่า,ภาคภูมิ สมเป็นกวีชั้นครู ไม่มีคำถ่อมตัว ไม่มีคำออกตัว
คำลงท้ายคำกลอนทุกเรื่อง สุนทรภู่ลงท้ายไว้อย่างเชิงครูกวี ลงท้ายแบบสง่า ไม่มีวกวน ไม่อ้อมค้อม ไม่มีอ้อยอิ่งอะไรเลย
บทกวีที่ไม่ใช่ของสุนทรภู่
คือ
๑. สุภาษิตสอนหญิง เป็นสำนวนกลอนของนายภู่ จุลละภมร
๒. นิราศพระแท่นดงรัง ฉบันที่ขึ้นต้นว่า
"นิราศรักหักใจอาลัยหวน ไปพระแท่นดงรังต้ังแต่ครวญ"
เป็นสำนวนกลอนของหมื่นพรหมสมพัศศร (มี)
๓. นิราศวัดเจ้าฟ้า
เป็นของนายพัด ภู่เรือหงส์ บุตรชายสุนทรภู่
๔. นิราศพระแท่นดงรัง
เป็นของนายกลั่น พลกนิษฐ์
๕. นิราศอิเหนา
ที่ขึ้นต้นว่า "นิราศร้างห่างเหเสน่หา" เป็นสำนวนกลอนของ
กรมหลวงภูวเนตรนิรนทร์ฤทธิ์ พระโอรสพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
๖. บทละครเรื่องอภัยนุราช
เป็นบทกวีของพระยาเสนาภูเบศร์ (ใส สโรบล)
๗. เรื่องจันทโครบเป็นบทกวีของ
นายภู่ จุลละภมร
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๓ พระจอมเกล้าฯ ได้เสวยราชสมบัติ,
เจ้าฟ้าจุฑามณีซึ่งดำรงพระยศเป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระเจ้าน้องยาเธอได้เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
สุนทรภู่จึงเข้ารับราชการใหม่ในตำแหน่ง "พระสุนทรโวหาร" จางวางกรมพระอาลักษณ์ในวังหน้า
ถือศักดินา ๒๕๐๐ ไร่
สุนทรภู่รับราชการอยู่จนถึงปี
พ.ศ.๒๔๑๐ อายุได้ ๘๑ ปี
ท่านก็ถึงแก่อนิจกรรม
เมื่อมีการตั้งนามสกุลในรัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๕๖ นั้น ทายาทของท่านเป็นหลานของนายพัด
ชื่อแปลก,เลียบ,
สวัสดิ์,สมพูน ใช้นามสกุลว่า
"ภู่เรือหงส์"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น