ต่อมามีผู้สนใจหนังสือเรื่องนี้กันมากในหมู่พระภิกษุสงฆ์และครูอาจารย์ตลอดผู้สนใจในประวัติของสมเด็จพระสังฆราช จึงได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่๒ เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๕
ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาแต่โบราณกาลกว่า ๒๐๐๐ ปีแล้ว แต่มีอิสระเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาอื่นได้ ประกอบพิธีทางศาสนาอื่่นได้ โดยไม่ถูกรังเกียจเกลียดชัง จากพุทธศาสนิกชนเลยแม้แต่น้อย ประเทศไทยมีอิสระเสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างอิสระเสรีจริงๆยิ่งกว่าประเทศใดในโลก เพราะพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์สยามประเทศและสมเด็จพระสังฆราชของไทยที่มีพระเมตตากรุณาแก่มนุษย์ร่วมโลกร่วมทุกข์โดยแท้จริง
พระสังฆราชของไทยทุกพระองค์ทรงมองศาสนิกชนต่างศาสนาว่าเขามีบุญกรรมและวาสนาอันได้สร้างสมมาอย่างนั้นเอง ทางพุทธศาสนาถือว่าเมื่อเขามีปัญญาบารมีสูงขึ้นมาถึงระดับหนึ่งแล้ว เขาจะมานับถือพระพุทธศาสนาด้วยตัวเขาเอง ดังเช่น ชาวฝรั่งเมื่อได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาแล้วออกไปต้ังสำนักสงฆ์เผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่ในประเทศอังกฤษ อเมริกา แคนาดา เยอรมัน และออสเตรเลีย เป็นต้น
การศึกษาพระประวัติของสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้เข้าใจวัฒนธรรมในหมู่คณะสงฆ์ และวัฒนธรรมกาสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชด้วยว่า พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศจะมีหน้าที่สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชขึ้นปกครองคณะสงฆ์ในสังฆมณฑล โดยพระราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ และพระสงฆ์ทุกรูปจะต้องอยู่ในปกครองของสมเด็จพระสังฆราช
เทพ สุนทรศารทูล
๑๕ มีนาคม ๒๕๓๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น