คำนำ
คำว่า "เพลงยาว" นั้นโบราณแบ่งออกเป็น ๕ ประเภทคือ
๑.เพลงยาวสังวาส แปลว่าเพลงยาวที่แต่งถึงคนท
๒.เพลงยาวนิราศ แปลว่า เพลงยาวที่่แต่งเมื่อจากบ้า
๓.เพลงยาวสุภาษิต คือเพลงยาวที่แต่งคำสุภาษิต
๔.เพลงยาวพงศาวดาร เช่นเพลงยาวที่สุนทรภูแต่งพ
๕.เพลงยาวเสภา เช่นเพลงยาวเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เรียกว่า เพลงยาวเหมือนกัน แต่เรียกสั้นๆว่า เพลงเสภา (มาจากคำว่า เสพาที แปลว่า เพลงเสแสร้งแกล้งว่าเล่น)
พระสุนทรโวหาร(ภู่ ภู่เรือหงส์) แต่งเพลงยาวไว้หลายเรื่อง ดูเหมือนว่าจะแต่งครบถ้วนเพ
๑. เพลงยาวสังวาส ได้แก่ เพลงยาวรำพรรณพิลาป
๒.เพลงยาวนิราศ ได้แก่ เพลงยาวนิราศเมืองแกลง,เพลง
ส่วนเพลงยาวเรื่องอื่นๆ ไม่ใช่ของท่าน เช่น นิราศพระแท่นดงรัง ของหมื่นพรหมสมพัตศร(มี มีระเสน) , นิราศวัดเจ้าฟ้า ของนายพัด ภู่เรือหงส์, นิราศอิเหนาของกรมหลวงภูวเน
๓. เพลงยาวสุภาษิต เช่นเพลงยาวสุภาษิตโลกนิติ,
๔.เพลงยาวพงศาวดาร ๒ เรื่อง คือ เพลงยาวเรื่องเรื่องตีหงสา,
๕ เพลงยาวเสภา เช่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
ลูกศิษย์สุนทรภู่ ที่แต่งนิราศแบบครู มีอยู่หลายคน คือ
๑.หม่อมราโชทัย แต่งนิราศลอนดอน
๒. กรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์ แต่งนิราศอิเหนา เรื่องนี้ไพเราะกว่าของสุนทรภู่
๓.หมื่นพรหมสมพัตศร (มี มีระเสน) แต่งนิราศพระแท่นดงรัง (เพราะเทียบเท่าสุนทรภู่ ) นิราศสุพรรณ, นิราศเดือน, นิราศถลาง
๔.หลวงจักรปาณี(ฤกษ์) แต่งนิราศพระปฐมเจดีย์ นิราศทวารวดี นิราศกรุงเก่า นิราศปฐวี สำนวนกลอนเทียบเท่าสุนทรภู่
๕.นายกลั่น พลกนิษฐ์ แต่งนิราศพระแท่นดงรัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘
๖.นายพัด ภู่เรือหงส์ แต่งนิราศวัดเจ้าฟ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ แต่งเรื่องลักษณวงศ์ ตอนปลายต่อจากที่สุนทรภู่แต่งถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ
๗.นายภู่ จุลละภมร แต่งสุภาษิตสอนหญิง พระสมุทรคำกลอน นกกระจาบคำกลอน จันทโครบคำกลอน กายนครคำกลอน พระรถนิราศ นายภู่ จุลละภมรคนนี้เคยบวชเณรอยู่ที่วัดพระเชตุพน ได้เป็นลูกศิษย์สุนทรภู่ ได้แต่งพระรถนิราศไว้เป็นเรื่องแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ สุภาษิตสอนหญิง พระจันทโครบ แต่คนไม่เชื่อ เข้าใจว่า สุนทรภู่แต่ง เพราะออกชื่อตัวเองไว้ว่า ชื่อภู่ เช่นเรื่องจันทโครบ ก็บอกว่า "ข้าพเจ้าผู้แต่งแมลงภู่ พึ่งริรู้เรื่องคำทำอักษร" ทุกเรื่องมีบทไหว้ครู ซึ่งสุนทรภู่แต่งกลอนไม่เคยไหว้ครูเลยแม้แต่เรื่องเดียว เรื่องใดมีบทไหว้ครู ให้ตัดออกไปได้เลย
สุนทรภู่แต่งเพลงยาวสังวาส และเพลงยาวสุภาษิตไว้อีก ๕ เรื่องคือ
๑. เพลงยาวรำพรรณพิลาป แต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕
๒.เพลงยาวถวายโอวาท แต่งถวายเจ้าฟ้ามหามาลา และเจ้าฟ้าอาภรณ์
๓. เพลงยาวสวัสดิรักษา แต่งถวายพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔.เพลงยาวโลกนิติ แต่งเมื่อบวชอยู่วัดสระเกศ คู่กับโคลงโลกนิติ
๕.เพลงยาวสุบินนิมิต แต่งตำราแก้ฝันถวายเจ้านาย
ซึ่งเพลงยาวสังวาส และเพลงยาวสุภาษิตนี้ สมควรแยกไปกล่าวไว้อีกประเภทหนึ่ง จะขอนำเอาเพลงยาวนิราศมากล่าวไว้โดยเฉพาะ เพื่อจะบอกว่าสุนทรภู่แต่งเพลงยาวนิราศไว้เพียง ๕ เรื่องเท่านั้น คือ
๑.เพลงยาวนิราศเมืองแกลง แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐
๒.เพลงยาวนิราศพระบาท แต่งเมื่อพ.ศ. ๒๓๕๐
๓.เพลงยาวนิราศเมืองเพ็ชร แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๐
๔.เพลงยาวนิราศภูเขาทอง แต่งเมื่อพ.ศ. ๒๓๗๑
๕.เพลงยาวนิราศพระปธมปโฑณ แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕
คำโคลงนิราศสุพรรณแต่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๕ แต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เป็นนิราศคำโคลงเรื่องแรกแล ะเรื่องเดียวที่ยาวที่สุดใน สยามวรรรคดี สุนทรภู่ตั้งใจแต่งฝากฝีปากฝืมือไว้เพื่อลบล้างคำสบประมาทที่ว่า สุนทรภู่เก่งแต่แต่งกลอนเท่านั้นมีตัวอย่างโคลงกลบทอยู่ ๖
๑.โคลงนาคปริพันํธ์
๒.โคลงกบเต้
๓.โคลงสระล้วน
๔.โคลงอักษรสาม
๕.โคลงสะกัดแคร่
๖.โคลงช้อยดอก
๕.โคลงสะกัดแคร่
๖.โคลงช้อยดอก
เทพ สุนทรศารทูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น