๑๑ พ.ย. ๒๕๒๙
วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558
เพลงยาวนิราศสุนทรภู่
คำนำ
คำว่า "เพลงยาว" นั้นโบราณแบ่งออกเป็น ๕ ประเภทคือ
๑.เพลงยาวสังวาส แปลว่าเพลงยาวที่แต่งถึงคนท
๒.เพลงยาวนิราศ แปลว่า เพลงยาวที่่แต่งเมื่อจากบ้า
๓.เพลงยาวสุภาษิต คือเพลงยาวที่แต่งคำสุภาษิต
๔.เพลงยาวพงศาวดาร เช่นเพลงยาวที่สุนทรภูแต่งพ
๕.เพลงยาวเสภา เช่นเพลงยาวเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เรียกว่า เพลงยาวเหมือนกัน แต่เรียกสั้นๆว่า เพลงเสภา (มาจากคำว่า เสพาที แปลว่า เพลงเสแสร้งแกล้งว่าเล่น)
พระสุนทรโวหาร(ภู่ ภู่เรือหงส์) แต่งเพลงยาวไว้หลายเรื่อง ดูเหมือนว่าจะแต่งครบถ้วนเพ
๑. เพลงยาวสังวาส ได้แก่ เพลงยาวรำพรรณพิลาป
๒.เพลงยาวนิราศ ได้แก่ เพลงยาวนิราศเมืองแกลง,เพลง
ส่วนเพลงยาวเรื่องอื่นๆ ไม่ใช่ของท่าน เช่น นิราศพระแท่นดงรัง ของหมื่นพรหมสมพัตศร(มี มีระเสน) , นิราศวัดเจ้าฟ้า ของนายพัด ภู่เรือหงส์, นิราศอิเหนาของกรมหลวงภูวเน
๓. เพลงยาวสุภาษิต เช่นเพลงยาวสุภาษิตโลกนิติ,
๔.เพลงยาวพงศาวดาร ๒ เรื่อง คือ เพลงยาวเรื่องเรื่องตีหงสา,
๕ เพลงยาวเสภา เช่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
ลูกศิษย์สุนทรภู่ ที่แต่งนิราศแบบครู มีอยู่หลายคน คือ
๑.หม่อมราโชทัย แต่งนิราศลอนดอน
๒. กรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์ แต่งนิราศอิเหนา เรื่องนี้ไพเราะกว่าของสุนทรภู่
๓.หมื่นพรหมสมพัตศร (มี มีระเสน) แต่งนิราศพระแท่นดงรัง (เพราะเทียบเท่าสุนทรภู่ ) นิราศสุพรรณ, นิราศเดือน, นิราศถลาง
๔.หลวงจักรปาณี(ฤกษ์) แต่งนิราศพระปฐมเจดีย์ นิราศทวารวดี นิราศกรุงเก่า นิราศปฐวี สำนวนกลอนเทียบเท่าสุนทรภู่
๕.นายกลั่น พลกนิษฐ์ แต่งนิราศพระแท่นดงรัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘
๖.นายพัด ภู่เรือหงส์ แต่งนิราศวัดเจ้าฟ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ แต่งเรื่องลักษณวงศ์ ตอนปลายต่อจากที่สุนทรภู่แต่งถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ
๗.นายภู่ จุลละภมร แต่งสุภาษิตสอนหญิง พระสมุทรคำกลอน นกกระจาบคำกลอน จันทโครบคำกลอน กายนครคำกลอน พระรถนิราศ นายภู่ จุลละภมรคนนี้เคยบวชเณรอยู่ที่วัดพระเชตุพน ได้เป็นลูกศิษย์สุนทรภู่ ได้แต่งพระรถนิราศไว้เป็นเรื่องแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ สุภาษิตสอนหญิง พระจันทโครบ แต่คนไม่เชื่อ เข้าใจว่า สุนทรภู่แต่ง เพราะออกชื่อตัวเองไว้ว่า ชื่อภู่ เช่นเรื่องจันทโครบ ก็บอกว่า "ข้าพเจ้าผู้แต่งแมลงภู่ พึ่งริรู้เรื่องคำทำอักษร" ทุกเรื่องมีบทไหว้ครู ซึ่งสุนทรภู่แต่งกลอนไม่เคยไหว้ครูเลยแม้แต่เรื่องเดียว เรื่องใดมีบทไหว้ครู ให้ตัดออกไปได้เลย
สุนทรภู่แต่งเพลงยาวสังวาส และเพลงยาวสุภาษิตไว้อีก ๕ เรื่องคือ
๑. เพลงยาวรำพรรณพิลาป แต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕
๒.เพลงยาวถวายโอวาท แต่งถวายเจ้าฟ้ามหามาลา และเจ้าฟ้าอาภรณ์
๓. เพลงยาวสวัสดิรักษา แต่งถวายพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔.เพลงยาวโลกนิติ แต่งเมื่อบวชอยู่วัดสระเกศ คู่กับโคลงโลกนิติ
๕.เพลงยาวสุบินนิมิต แต่งตำราแก้ฝันถวายเจ้านาย
ซึ่งเพลงยาวสังวาส และเพลงยาวสุภาษิตนี้ สมควรแยกไปกล่าวไว้อีกประเภทหนึ่ง จะขอนำเอาเพลงยาวนิราศมากล่าวไว้โดยเฉพาะ เพื่อจะบอกว่าสุนทรภู่แต่งเพลงยาวนิราศไว้เพียง ๕ เรื่องเท่านั้น คือ
๑.เพลงยาวนิราศเมืองแกลง แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐
๒.เพลงยาวนิราศพระบาท แต่งเมื่อพ.ศ. ๒๓๕๐
๓.เพลงยาวนิราศเมืองเพ็ชร แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๐
๔.เพลงยาวนิราศภูเขาทอง แต่งเมื่อพ.ศ. ๒๓๗๑
๕.เพลงยาวนิราศพระปธมปโฑณ แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕
คำโคลงนิราศสุพรรณแต่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๕ แต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เป็นนิราศคำโคลงเรื่องแรกแล ะเรื่องเดียวที่ยาวที่สุดใน สยามวรรรคดี สุนทรภู่ตั้งใจแต่งฝากฝีปากฝืมือไว้เพื่อลบล้างคำสบประมาทที่ว่า สุนทรภู่เก่งแต่แต่งกลอนเท่านั้นมีตัวอย่างโคลงกลบทอยู่ ๖
๑.โคลงนาคปริพันํธ์
๒.โคลงกบเต้
๓.โคลงสระล้วน
๔.โคลงอักษรสาม
๕.โคลงสะกัดแคร่
๖.โคลงช้อยดอก
๕.โคลงสะกัดแคร่
๖.โคลงช้อยดอก
เทพ สุนทรศารทูล
วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558
โคลงโลกนิติถอดความเป็นร้อยแก้ว
อุตริมนุสสธรรมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
คำนำ |
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีประวัติชีวิตที่พิศดารโด่งดังมากที่สุดท่านทำอะไรแปลกกว่าคนอื่น ใครไม่รู้ว่านั่นคือ อุตตริมนุสสธรรม ของท่าน
คำว่า "อุตตริมนุสสธรรม" แปลว่า "สิ่งที่เหนือคนธรรมดาสามัญ
ประวัติชีวิตพิศดารของสมเด็
การแสดงอิทธิฤทธิปาฎิหาริย์
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในกรุงสยาม ไม่มีใครเทียบเท่า มีผู้เขียนประวัติของท่านไว้หลายครั้ง พิมพ์แพร่หลายไปมากแล้วต่างคนต่างเขียนไปคนละแนว บางท่านก็เขียนไปในเชิงนวนิยาย ว่าท่านเป็นราชบุตรลับของเจ้าพระยาจักรี เมื่อสมัยไปรบพม่าทางเหนือ ซึ่งนักพงศาวดารยอมรับไม่ได้ เพราะสมเด็จท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ สมัยเมื่อพระพุทธยอดฟ้าฯ ท่านไปเป็นแม่ทัพรบอแซหวุ่นกี้นั้น เป็นปีพ.ศ. ๒๓๑๘ ในสมัยกรุงธนบุรี อีก ๒๓ ปีต่อมาสมเด็จท่านจึงเกิด ท่านจะเป็นราชบุตรของเจ้าพระยาจักรี หรือพระพุทธยอดฟ้าไม่ได้เลย
ที่เกิดสับสนถึงแก่สมมุติเอาว่า ท่านมีเชื้อสายเจ้านายในราชวงศ์จักรี เพราะกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ท่านใช้ราชาศัพท์เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โตดับขันธ์ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โตสิ้นชีพิตักษัย คำราชาศัพ์ท์ว่า สิ้นชีพิตักษัย ใช้กับหม่อมเจ้า ทำให้คนเข้าใจผิดว่าท่านต้องเป็นชั้นหม่อมเจ้า อันทีจริงพระราชาคณะชั้นสมเด็จ ท่านเทียบเท่าชั้นหม่อมเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ท่านจึงใช้ราชาศัพท์ว่า สิ้นชีพิตักษัย
ในการเขียนเรื่องสมเด็จพระพ
๑. สุภาษิตสอนเด็ก ที่ท่านแต่
๒. พระเครื่องสมเด็จมณีรัตน์ *(ข้อมูลไม่เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ทตามหมายเหตุด้านล่าง)
เทพ สุนทรศารทูล
(หมายเหตุ : เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวพระเครื่องสมเด็จ ทั้งการสร้างและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับองค์พระทุกรุ่น อาจถูกนำไปใช้โดยไม่สุจริต และมิชอบด้วยเจตนารมณ์ของท่านผู้เขียน ที่ต้องการบอกกล่าวข้อมูลไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
จึงขอเว้นการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท...ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องสมเด็จที่เคยลงหนังสือไว้ ...โดยผู้สนใจศึกษาจริง สามารถค้นคว้าอ่านได้จากหนังสือเล่มต้นฉบับสมบูรณ์ที่หอสมุดแห่งชาติต่อไป)
วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558
เสด็จประพาสสมุทรสงคราม
โดย
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558
กาพย์พระมาลัย
พระมาลัยเถระ |
โดย |
กาพย์พระมาลัย
คำนำ
"กาพย์พระมาลัย" โบราณเรียกพระมาลัยคำสวด หรือพระมาลัยกลอนสวด เพราะท่านอ่านสวดเป็นทำนองเ สนาะ มีปี่พาทย์รับเป็นตอนๆไป การสวดพระมาลัยนี้เพื่อสั่ง สอนอบรมประชาชนให้รู้จักบาป บุญคุณโทษ เป็นการเผยแพร่คำสอนในพระพุ ทธศาสนาที่แยบยล ได้รับรสไพเราะกินใจ
พระมาลัยพบพระศรีอารย์ |
ข้าพเจ้าเป็นเด็กวัดตาก้อง นครปฐม ที่วัดมีการสวดพระมาลัยกลอน สวดอยู่เสมอ เป็นการสวดทำนองเสนาะ ฟังแล้วไพเราะกินใจทำให้เสี ยงสวดน้ันก้องอยู่ในโสตประส าทไม่ลืมและคิดเสมอว่าจะค้น คว้าเรื่องพระมาลัยกลอนสวดน ี้
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้พบหนังสือเล่มหนึ่งในวัดมหาธาตุ ชื่อ "คำสวดพระมาลัย" พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูศึลามุข (จันทร์ กิตติสิริ) ณ วัดเครือวัลย์วรวิหาร วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ว่าเป็นฉบับของนายสุเมธ (บุญช่วย สถาวรสนิท) คัดลอกมาจากวัดราชาธิวาส แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นคำประพันธ์ชนิดใด การเรียงพิมพ์เป็นแบบเก่า ไม่ได้เรียงพิมพ์ตามแบบฉันทลักษณ์ที่นิยมกัน เพราะคัดลอกกันต่อๆมา
ต่อมาก็พบหนังสืออีกเล่มหนึ่งชือว่า "จรัมบุญ" เขียนโดยท่าน "ศรีวัน" พิมพ์แจกในงานศพของนางฉาย ประเสริฐสารบรรณ ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๔
ท่านศรีวัน นี้คือสมเด็จพระอริยวงศาคนญาณ (ปุ่น) พระเชตุพนฯ
หนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องพระมาลัยไว้ และมีรูปภาพจากหนังสือพระมาลัยมาลงไว้ด้วย
ข้าพเจ้ารู้สีกว่าเทวดาดลใจให้ข้าพเจ้าพบหนังสือที่ต้องประสงค์แล้วในการศึกษาเรื่องพระมาลัย ข้าพเจ้าจึงลงมือชำระหนังสือพระมาลัยกลอนสวดเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้ตรวจสอบชำระเป็นเวลา ๑๔ วัน ชำระจบ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒
เหตุที่ชำระได้เสร็จเร็วเช่นนี้ เพราะข้าพเจ้ามีความชำนาญในการแต่งกาพย์อยู่พอสมควร เคยแต่งกาพย์ขนาดยาวมาแล้ว คือ กาพย์พญากงพญาภาณ เมื่ออ่านคำกาพย์จึงทราบได้ในขณะนั้นเองว่า กาพย์นี้ชื่ออะไร ถูกต้องตามฉันทลักษณ์หรือไม่ ขาดเกินอยู่อย่างไร คำนั้นผิดเพี้ยนอย่างไร ที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร
ข้าพเจ้าเคยชำระกาพย์สังขศิลปชัย บทกวีนิพนธ์คร้ังกรุงศรีอยุธยามาแล้วเรื่องหนึ่ง เมื่ออ่านคำกาพย์พระมาลัย จึงทราบได้โดยง่าย
หลักสำคัญที่ข้าพเจ้ายึดถือในการชำระกาพย์พระมาลัยนี้ คือ
๑.เรียงคำให้ถูกต้องตามแบบแผนของกาพย์แบบนั้น
๒. บอกชื่อกาพย์ไว้ด้วยว่าชื่อกาพย์อะไร จากต้นฉบับที่ไม่บอกไว้ หรือบอกไม่ตรง
๓. คงรูปถ้อยคำสำนวนเดิมของท่านไว้ ไม่เปลี่ยนแปลงเอาตามความคิดเห็นของตนเอง แม้คำบางคำจะเก่า เข้าใจยาก
๔. ถ้อยคำที่เห็นว่าเกินแบบแผนของกาพย์ชนิดนั้น ก็ตัดออกเสียบ้าง เท่าที่เห็นว่าไม่เสียความ แต่ที่จำเป็นก็คงไว้ แม้ว่าจะเกินคำกาพย์น้ันๆ
๕. คำที่ตัดมาตกหล่น ไม่ครบคณะของคำกาพย์น้ันๆ ก็สรรค์หาคำมาซ่อมให้ครบคณะ โดยไม่เสียความ แต่ได้ความชัดเจนขึ้น
๖. คำที่ไม่แน่ใจว่าคำเดิมเป็นอย่างไร ทั้งที่ไม่เข้าใจ ก็คงรูปคำน้ันไว้
หลักสำคัญที่ข้าพเจ้ายึดถือในการชำระกาพย์พระมาลัยนี้ คือ
๑.เรียงคำให้ถูกต้องตามแบบแผนของกาพย์แบบนั้น
๒. บอกชื่อกาพย์ไว้ด้วยว่าชื่อกาพย์อะไร จากต้นฉบับที่ไม่บอกไว้ หรือบอกไม่ตรง
๓. คงรูปถ้อยคำสำนวนเดิมของท่านไว้ ไม่เปลี่ยนแปลงเอาตามความคิดเห็นของตนเอง แม้คำบางคำจะเก่า เข้าใจยาก
๔. ถ้อยคำที่เห็นว่าเกินแบบแผนของกาพย์ชนิดนั้น ก็ตัดออกเสียบ้าง เท่าที่เห็นว่าไม่เสียความ แต่ที่จำเป็นก็คงไว้ แม้ว่าจะเกินคำกาพย์น้ันๆ
๕. คำที่ตัดมาตกหล่น ไม่ครบคณะของคำกาพย์น้ันๆ ก็สรรค์หาคำมาซ่อมให้ครบคณะ โดยไม่เสียความ แต่ได้ความชัดเจนขึ้น
๖. คำที่ไม่แน่ใจว่าคำเดิมเป็นอย่างไร ทั้งที่ไม่เข้าใจ ก็คงรูปคำน้ันไว้
การชำระนี้ แน่นอนว่า รูปโฉมคงเปลียนไปบ้าง ไม่เหมือนฉบับเดิมทั้งสิ้น แต่ข้าพเจ้าขอรับรองด้วยจิต สำนึกของนักวรรณคดีว่า จะไม่ทำให้วรรณคดีชองชาติอั นสำคัญเสียหายไปแม้แต่น้อย เพราะข้าพเจ้าทราบดีว่า นักกวีย่อมเลือกสรรคำมาได้อ ย่างดีที่สุดแล้ว
การชำระสะสางวรรณคดีโบราณก็ดี การบูรณะปฎิสังขรณ์โบราณวัตถุก็ดี มีคนทำอยู่ ๓ อย่างคือ
การชำระสะสางวรรณคดีโบราณก็ดี การบูรณะปฎิสังขรณ์โบราณวัตถุก็ดี มีคนทำอยู่ ๓ อย่างคือ
๑. อนุรักษ์ คือพยายามรักษาของเก่าไว้ให ้ดีที่สุด ไม่เปลี่ยนแปลงเลย
๒.อภิรักษ์ คือ การชำระตบแต่งให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าทราบว่าของเดิมเป็นอย่างไรก็ซ่อมให้ดีขึ้นเท่าของเดิม ที่ยังไม่ชำรุดเสียหาย
๓. ปฎิรักษ์( ศัพท์ที่ข้าพเจ้าคิดขึ้น) คือการรือของเก่าแล้วสร้างขึ้นใหม่
การชำระของข้าพเจ้านี้ ขอรับรองด้วยเกียรติของนักวรรณคดีว่ ทำโดยวิธีที่๑ และวิธีที่๓ ปนกัน
กลอนสวดพระมาลัยนี้ ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ก็ต้องเรียกว่า "คำกาพย์พระมาลัย" เพราะนักกวีท่านแต่งเป็นคำกาพย์ คำกาพย์นี้เป็นที่นิยมแต่งและนิยมอ่านของคนไทยมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวอย่างเช่น คำกาพย์สังข์ศิลปชัย หรือ "กลอนสวดเรื่องสังข์ศิลปชัย" นั้นมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
คำกาพย์นี้เมื่อนำมาสวดเป็นทำนองเสนาะแล้วก็ฟังไพเราะเสนาะโสต นิยมกันมากจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังมีสวดกันที่พระระเบียงของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
บรรดาลูกเจ้านายขุนนางมาหัดสวดกัน ที่เรียกว่า "สวดโอ้เอ้วิหารราย" นั่นแหละ พึ่งมาเลิกร้างไปในสมัยกรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระสังฆราชในเวลาต่อมา ท่านเห็นว่าการที่พระสวดแหล่กันนั้น เป็นเหมือน "พระร้องเพลง" เสียสมณรูป จึงให้เลิกกันเสีย ความนิยมจึงจืดจางไปต้ังแต่นั้นมา
อันที่จริงการร้องเพลงสวดนี้มีมาในพระพุทธศาสนามานานกว่าหกร้อยปีแล้ว และเรื่องที่ท่านสวดมากที่สุดมีอยู่สองเรื่อง คือ เรื่อง พระเวสสันดรชาดก ที่เรียกกันว่า มหาชาติ(ชาติใหญ่) เรื่องหนึ่งคือ พระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ที่จะมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า เรื่องที่สองที่นิยมสวดคู่กันมาคือเรื่อง "กาพย์พระมาลัย"
ที่เป็นเรื่องเล่าว่า พระมาลัยเทพเถร พระอรหันต์แห่งเมืองลังกา ท่านมีอิทธิฤทธาปาฎิหาริย์แบบพระโมคัลลานะ ในสมัยพุทธกาล คือท่านสามารถเหาะไปเยี่ยมนรก สวรรค์ได้ แล้วกลับมาเล่าให้ญาติโยมฟังว่า ท่านได้พบเปรตในนรก ในชื่อนั้นๆ เป็นญาติพี่น้องลูกหลานพ่อแม่ของคนนั้น กำลังได้รับทุกข์เวทนาอยู่ในนรก สั่งมาให้ลูกเมียทำบุญอุทิศไปให้ด้วย
ท่านเล่าถูกต้องตรงกับความจริงหมดว่า เมื่อเป็นคนอยู่ในโลกมนุษย์นี้เปรตตนนั้นทำบาปกรรมอันใดไว้ จะไม่เชื่อท่านก็ไม่ได้ เพราะท่านบอกถูกต้องหมด ทำให้คนเลื่อมใสศรัทธาทำบุญอุทิศกุศลส่งไปให้เปรตในโลกนรก
ต่อมาท่านได้รับดอกบัวแปดดอกที่ยาจกคนหนึ่งถวายท่าน พระมาลัยจึงนำดอกบัวน้ันไปบูชาพระเจดีย์ พระจุฬามณีในดาวดึงส์ พระมาลัยจึงได้ไปพบเทวดา ที่มาบูชาพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าในดาวดึงส์กันมากมาย
ในที่สุดท่านได้พบพระศรีอารย์เสด็จมาบูชาพระเกศธาตุที่พระุจุฬามณี พระมาลัยถามว่า เมื่อไรจะเสด็จลงไปประกาศธรรมสั่งสอนชาวโลก
พระศรีอารย์ก็ตรัสว่า จะลงไปประกาศธรรมเมื่อสิ้นศาสนาพระสมณโคดมแล้ว และเมื่อชาวโลกไม่เบียดเบียนกัน คนในศาสนาของท่านนั้นจะมีความสุขเหมือนเทพยดาในเมืองแมนแดนสวรรค์ จะไม่มีทุกข์ ไม่ยากจน ไม่มีโรคภัย คนหูหนวก ตาบอด บ้า ใบ้ คนเป็นโรคเรื้อนโรคฝี จะไม่เกิดมีในศาสนาพระศรีอารย์เลย ทกคนจะมีรูปร่างสวยงามเหมือนกันหมด มองดูไม่รู้ว่าเป็นใคร
พระมาลัยถามว่า ทำบุญอย่างไร จึงได้ไปบังเกิดในศาสนาพระศรีอารย์ พระศรีอารย์ตรัสตอบว่า ให้ทำทาน รักษาศีล กระทำสมณภาวนา ให้ถวายอาหาร ไตรจีวร หยูกยา สร้างวัดวาอารามให้พระสงฆ์อยู่เป็นสุข ไม่ให้ผิดศีลห้า
พระมาลัยคำกาพย์นี้ ข้าพเจ้าค่อนข้างมั่นใจมากว ่า เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระส ังฆราชมี วัดมหาธาตุ ทรงพระนิพนธ์ขึ้นใหม่ในรัชกาลท ี่๒ โดยแปลมาจากฎีกาเรื่องพระมา ลัยที่ได้มาจากประเทศศรีลังกา
ที่สันนิษฐานดังนี้ เพราะในสมัยที่ท่านยังเป็นส มเด็จพระวันรัตน์ วัดราชบูรณะ ท่านได้รับมอบหม ายจากสมเด็จพระสังฆราชสุก วัดมหาธาตุ ให้จัดพระสงฆ์วัดราชบูรณะ และพระสงฆ์วัดมหาธาตุ เป็นสมณทูตไปเจริญทางพระศาส นาในประเทศศรีลังกา เป็นคณะสงฆ์ไทยคณะแรกที่ไปประเทศศรีลังกาสมัยกรุงเทพฯ
พระสงฆ์คณะนี้คงจะได้อรรถกถาบาลีเรื่องพระมา ลัยเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง อรรถคาถาที่ได้มาในสมัยพระเจ้าบรมโกษฐ์ คงจะสาปสูญไปในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ โน้นแล้ว
เมื่อได้อรรถกถาเรื่องพระมาลัยมาใหม่ สมเด็จพระสังฆราชมี จึงได้ทรงพระนิพนธ์เป็นคำกา พย์ในรัชกาลที่๒ ต่อมาท่านได้ดำรงตำแหน่งสมเ ด็จพระสังฆราช มาสถิตย์อยู่วัดมหาธาตุแล้ว ท่านจึงให้เจ้าคณะสงฆ์สวดพระมาล ัยคำกาพย์นี้ คู่กับการเทศน์แหล่มหาชาติใ นงานสงกรานต์
๒.อภิรักษ์ คือ การชำระตบแต่งให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าทราบว่าของเดิมเป็นอย่างไรก็ซ่อมให้ดีขึ้นเท่าของเดิม ที่ยังไม่ชำรุดเสียหาย
๓. ปฎิรักษ์( ศัพท์ที่ข้าพเจ้าคิดขึ้น) คือการรือของเก่าแล้วสร้างขึ้นใหม่
การชำระของข้าพเจ้านี้ ขอรับรองด้วยเกียรติของนักวรรณคดีว่ ทำโดยวิธีที่๑ และวิธีที่๓ ปนกัน
กลอนสวดพระมาลัยนี้ ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ก็ต้องเรียกว่า "คำกาพย์พระมาลัย" เพราะนักกวีท่านแต่งเป็นคำกาพย์ คำกาพย์นี้เป็นที่นิยมแต่งและนิยมอ่านของคนไทยมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวอย่างเช่น คำกาพย์สังข์ศิลปชัย หรือ "กลอนสวดเรื่องสังข์ศิลปชัย" นั้นมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
คำกาพย์นี้เมื่อนำมาสวดเป็นทำนองเสนาะแล้วก็ฟังไพเราะเสนาะโสต นิยมกันมากจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังมีสวดกันที่พระระเบียงของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
บรรดาลูกเจ้านายขุนนางมาหัดสวดกัน ที่เรียกว่า "สวดโอ้เอ้วิหารราย" นั่นแหละ พึ่งมาเลิกร้างไปในสมัยกรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระสังฆราชในเวลาต่อมา ท่านเห็นว่าการที่พระสวดแหล่กันนั้น เป็นเหมือน "พระร้องเพลง" เสียสมณรูป จึงให้เลิกกันเสีย ความนิยมจึงจืดจางไปต้ังแต่นั้นมา
อันที่จริงการร้องเพลงสวดนี้มีมาในพระพุทธศาสนามานานกว่าหกร้อยปีแล้ว และเรื่องที่ท่านสวดมากที่สุดมีอยู่สองเรื่อง คือ เรื่อง พระเวสสันดรชาดก ที่เรียกกันว่า มหาชาติ(ชาติใหญ่) เรื่องหนึ่งคือ พระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ที่จะมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า เรื่องที่สองที่นิยมสวดคู่กันมาคือเรื่อง "กาพย์พระมาลัย"
พระมาลัยไปเมืองสวรรค์ |
พระมาลัยไปนรก |
ที่เป็นเรื่องเล่าว่า พระมาลัยเทพเถร พระอรหันต์แห่งเมืองลังกา ท่านมีอิทธิฤทธาปาฎิหาริย์แบบพระโมคัลลานะ ในสมัยพุทธกาล คือท่านสามารถเหาะไปเยี่ยมนรก สวรรค์ได้ แล้วกลับมาเล่าให้ญาติโยมฟังว่า ท่านได้พบเปรตในนรก ในชื่อนั้นๆ เป็นญาติพี่น้องลูกหลานพ่อแม่ของคนนั้น กำลังได้รับทุกข์เวทนาอยู่ในนรก สั่งมาให้ลูกเมียทำบุญอุทิศไปให้ด้วย
ท่านเล่าถูกต้องตรงกับความจริงหมดว่า เมื่อเป็นคนอยู่ในโลกมนุษย์นี้เปรตตนนั้นทำบาปกรรมอันใดไว้ จะไม่เชื่อท่านก็ไม่ได้ เพราะท่านบอกถูกต้องหมด ทำให้คนเลื่อมใสศรัทธาทำบุญอุทิศกุศลส่งไปให้เปรตในโลกนรก
ต่อมาท่านได้รับดอกบัวแปดดอกที่ยาจกคนหนึ่งถวายท่าน พระมาลัยจึงนำดอกบัวน้ันไปบูชาพระเจดีย์ พระจุฬามณีในดาวดึงส์ พระมาลัยจึงได้ไปพบเทวดา ที่มาบูชาพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าในดาวดึงส์กันมากมาย
ในที่สุดท่านได้พบพระศรีอารย์เสด็จมาบูชาพระเกศธาตุที่พระุจุฬามณี พระมาลัยถามว่า เมื่อไรจะเสด็จลงไปประกาศธรรมสั่งสอนชาวโลก
พระศรีอารย์ก็ตรัสว่า จะลงไปประกาศธรรมเมื่อสิ้นศาสนาพระสมณโคดมแล้ว และเมื่อชาวโลกไม่เบียดเบียนกัน คนในศาสนาของท่านนั้นจะมีความสุขเหมือนเทพยดาในเมืองแมนแดนสวรรค์ จะไม่มีทุกข์ ไม่ยากจน ไม่มีโรคภัย คนหูหนวก ตาบอด บ้า ใบ้ คนเป็นโรคเรื้อนโรคฝี จะไม่เกิดมีในศาสนาพระศรีอารย์เลย ทกคนจะมีรูปร่างสวยงามเหมือนกันหมด มองดูไม่รู้ว่าเป็นใคร
พระมาลัยถามว่า ทำบุญอย่างไร จึงได้ไปบังเกิดในศาสนาพระศรีอารย์ พระศรีอารย์ตรัสตอบว่า ให้ทำทาน รักษาศีล กระทำสมณภาวนา ให้ถวายอาหาร ไตรจีวร หยูกยา สร้างวัดวาอารามให้พระสงฆ์อยู่เป็นสุข ไม่ให้ผิดศีลห้า
พระมาลัยคำกาพย์นี้ ข้าพเจ้าค่อนข้างมั่นใจมากว
ที่สันนิษฐานดังนี้ เพราะในสมัยที่ท่านยังเป็นส
พระสงฆ์คณะนี้คงจะได้อรรถกถาบาลีเรื่องพระมา
เมื่อได้อรรถกถาเรื่องพระมาลัยมาใหม่ สมเด็จพระสังฆราชมี จึงได้ทรงพระนิพนธ์เป็นคำกา
และขอเล่าไว้ตรงนี้ว่า ในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังชำระเรื่องพระมาลัยคำกาพย์อยู่นั้น ได้นิมิตพบสมเด็จพระสังฆราช และได้สนทนากันถึงเรื่องพระมาลัยคำกาพย์ด้วย
ข้าพเจ้าหวังว่า พระมาลัยคำกาพย์นี้ คงจะเป็นที่สนใจของนักวรรรณคดีรวมท้ังนักภาษาและนักการศาสนา ผู้ที่รักวัฒนธรรมไทยและเอกลักษณ์ของไทยก็คงจะสนใจด้วย เพราะกาพย์พระมาลัยนี้คือวัฒนธรรมทางระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมทางจิตใจของไทยเราโดยแท้ ข้าพเจ้าหวังว่าสักวันหนึ่ง กงล้อประวัติศาสตร์คงจะหมุนกลับมาใหม่ ให้ทางวัดวาอารามนำเอาพระมาลัยคำกาพย์นี้ ออกมาสวดทำนองเสนาะกันให้ชาวบ้านฟังในวันตรุษสงกรานต์อีกคร้ังหนึ่ง เหมือนสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
การสวดพระมาลัยนี้เป็นวัฒนธรรมอันหนึ่งที่เราควรฟื้นฟูรักษาไว้ มันเป็นวัฒนธรรมทางระเบียบประเพณี และวัฒนธรรมทางจิตใจที่สำคัญมาก ทำให้คนฟังรู้สึกบาปบุญคุณโทษ และมีศรัทธาเชื่อถือในพระพุทธศาสนา
คนโบราณท่านใช้มานานนับพันปีแล้ว ปู่ย่าตายายเราคิดหาวิธีการฝึกฝนอบรมจิตใจศาสนิกชนไว้อย่างดีวิเศษ เราจึงควรฟื้นฟูการสวดแหล่ มหาชาติ การสวดพระมาลัยขึ้นใหม่
ข้าพเจ้าขอฝากความคิดนี้ไว้ให้ท่านวิญญูชนพิจารณาต่อไป ถ้าหากว่าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราเห็นด้วย และช่วยกันฟื้นฟู ข้าพเจ้าจะเป็นสุขมาก ไม่เสียเวลาที่ชำระวรรณคดีเรื่องกาพย์พระมาลัยนี้ขึ้นมาก ข้าพเจ้าต้องการเพียงเท่านี้ จึงลงทุนลงแรงชำระวรรคดีเรื่องนี้พิมพ์เผยแพร่แก่สาธารณชน เป็นวิทยาทานและธรรมทาน โดยถือคติที่ว่า "สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ " ( การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทานท้ังปวง)
เทพ สุนทรศารทูล
๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๒
วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558
เกิดมาทำไม
โดย
เทพ สุนทรศารทูล
คำแนะนำ
บทความเรื่อง "เกิดมาทำไม" นี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงความ คิดเห็น(ทิฎฐิ) และความเชื่อ(ศรัทธา) ของตนเอง ข้อความอาจจะขัดแย้งกับทิฎ
แต่ขอเรียนว่าเขียนขึ้นจากก
๑.หลวงพ่อกร่าย วัดตาก้อง
๒. พระครูอุดรการบดี (หลวงพ่อศุข) วัดห้วยจระเข้
๓. หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
๔. พระครูพรหมวิสุทธิ์ วัดทุ่งผักกูด
๕. พระอาจารย์ปาน วัดห้วยจระเข้
๖.พระครูปฐมเจติยาภิบาล (ป่วน) วัดพระปฐมเจดีย์
๗. พระอาจารย์บุญ วัดห้วยจระเข้
๘.พระอาจารย์เฟื่อง วัดห้วยจระเข้
๙. พระราชธรรมาภรณ์(หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม เป็นพระอุปัชฌาชย์
๑๐. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิท เขมจารี ป.๙) กระทำพิธีลาสิกขาให้
๑๑. พระราชสมุทรโมลี (สำรวย) วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
๑๒. พระราชวุฒาจารย์(ใจ) วัดเสด็จ
๑๓. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม
๑๔. พระธรรมธัชรัตนมุนีศรีธรรมราช วัดมหาธาตุ
๑๕. พระเทพสังวรณ์วิมล (เจียง) วัดเจริญสุขาราม
นอกจากนั้นยังได้อ่านหนังสื อธรรมะต่างๆอีกมาก หนังสือของท่านพุทธทาสนั้นอ่านหมดทุกเล่ม ประวัติพระอริยสงฆ์ก็อ่านมาเป็นอัน มาก เช่นประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระสุทธิรังสีคัมภีร์เมธาจา รย์ (พระอาจารย์ลี), หลวงปู่ขาว อนาลโย พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์),พระราชพรหมยานเถระ, พระสุพรหมยานเถระ เมืองลำพูน เป็นต้น
เรียกว่าศึกษามามากทั้งหลักธรรมและชีวประวัติพระอริยสงฆ์ในเมืองไทย รวมท้ังประวัติพระอรหันต์ในครั้งพุทธกาล
อ่านมามาก จนหล่อหลอมเป็นความรู้ ความคิด ความเชื่อในใจขึ้นมาเป็น "ธรรมารมณ์" จึงเขียนเรื่องนี้ขึ้น
เมื่อได้อ่านได้ฟังใครพูดเรื่องพระพุทธศาสนาแล้ว อยากจะนั่งสนทนาด้วยทุกเรื่องไป จึงได้เขียนบทความ เรื่องทางพระพุทธศาสนาไว้มาก เรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธศาสนา
ที่เขียนเรื่องนี้ขึี้น เพราะได้ฟังคนรุ่นใหม่ยุคนี้
๑. ไม่เชื่อชาติหน้า,ไม่เชื่อช
๒.ไม่เชื่อเรื่องบุญ,ไม่เชื
๓.ไม่เชื่อเรื่องนิพพาน(ว่า
๔.ไม่เชื่อเรื่องผี, ไม่เชื่อเรื่องเทวดา
๕. ไม่เชื่อเรื่องพระนิพพาน (ว่ามีอยู่ในโลกุตรภูมิ)
เรื่องไม่เชื่อชาติหน้า เรื่องตายแล้วสูญนี้ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์แห่งวัดป่าบ้านตา ด ลูกศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กล่าวว่า
"ความสำคัญว่า ตายแล้วสูญนี้แล เป็นภัยใหญ่และยืดเยื้อแก่ส ัตว์โลก ราวกับว่าเป็นผู้สิ้นหวังโด ยประการท้ังปวง ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะอนาคตเป็นความหมดหวัง เหมือนหินหักครึ่งท่อนต่อกั นให้ติดไม่ได้ จะเรียกว่า ผู้มีอนาคตอันกุดด้วย ก็ไม่น่าจะผิด...."
ข้าพเจ้าเชื่อว่า คนที่ไม่เชื่อชาติหน้ามีมาก ขึ้นเพียงไร โลกาก็จะเกิดยุคเข็ญมากขึ้นเ พียงนั้น แต่ถ้าคนเชื่อชาติหน้า โลกจะร่มเย็น ข้าพเจ้าจึงเขียนเรื่องนี้ข ึ้นมาเพื่อบำรุงศรัทธาของตนและคนอื่นที่มีศรัทธาอย่างเดียวกัน เป็นการสนทนาธรรมกันในหมู่ค นศรัทธาอย่างเดียวกันเท่านั้น
เรื่องไม่เชื่อชาติหน้า เรื่องตายแล้วสูญนี้ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์แห่งวัดป่าบ้านตา
"ความสำคัญว่า ตายแล้วสูญนี้แล เป็นภัยใหญ่และยืดเยื้อแก่ส
ข้าพเจ้าเชื่อว่า คนที่ไม่เชื่อชาติหน้ามีมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)