วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประวัตินายเทพ สุนทรศารทูล


นายเทพ สุนทรศารทูล


ข้าราชการผู้มีประสบการณ์ในการทำงานสูง  เป็นบุคคลสำคัญของวงการศึกษา ได้สร้างผลงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าในท้องถิ่น ทั้งด้านการศึกษา  สังคม และศาสนา   เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นความรู้และมรดกของท้องถิ่นของชาติ อันมีความสำคัญท้ังในด้านโบราณสถาน

นายเทพ  สุนทรศารทูลได้เรียบเรียงและพิมพ์หนังสือออกเผยแพร่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ,  ช่วยในการอนุรักษ์มรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติ  ดังเช่นการเขียนประวัติศาสตร์เมืองสมุทรสงครามขึี้นเผยแพร่ให้รู้ว่า สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาค)  พระมารดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์พระราชชนนีในรัชกาลที่๔  ประสูติที่เมืองสมุทรสงคราม 



พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


และได้เขียนเชิญชวนให้คิดสร้างพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยขึ้นที่วัดอัมพวันเจติยารามอันเป็นสถานที่ประสูติ
 







เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕  นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดให้มีวารสารสมุทรสงครามเผยแพร่กิจการของจังหวัด  นายเทพ สุนทรศารทูล เป็นผู้ช่วยบรรรณาธิการ  และเขียนคอลัมน์ แก่นจัน โดยใช้นามปากกาว่า ท.สุนทรศารทูล นำเสนอชีวประวัติบุตคลสำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม

ฉบันแรกนายเทพ สุนทรศารทูลได้เขียนเรื่อง"สมเด็จพระอมรินทรามาตย์" พระบรมราชินีในรัชกาลที่๑  ซึ่งเป็นชาวเมืองสมุทรสงคราม
ฉบันที่สอง เขียนเรื่อง "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" ซึ่งมีพระราชสมภพที่จังหวัดสมุทรสงคราม

ในตอนท้ายได้นำเสนอความเห็้นไว้ว่า


"พี่น้องชาวสมุทรสงคราม ได้โปรดพิจารณาดูเถิดว่า  จะเป็นการสมควรหรือไม่ ที่จะสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไว้เป็นศรีสง่าคู่บ้านคู่เมืองเรา  จะได้เป็นที่เคารพสักการะเป็นแบบอย่างเครื่องจรรโลงใจชาวเมืองสมุทรสงครามไปชั่วกาลนาน  ขอฝากความคิดนี้ไว้แต่พี่น้องชาวเมืองสมุทรสงครามด้วย  แต่ถ้าหากคำเชิญชวนนี้ไม่สามารถโน้มน้าวใจท่านให้เห็นดีเห็นชอบด้วยได้  ก็มิใช่เพราะพระองค์ท่านมิได้เป็นวีรชนชาวเมืองสมุทรสงคราม ที่มีค่าควรแก่ความภาคภูมิใจ  แต่เป็นด้วยผู้เขียนไม่มีศิลปในเชิงชักชวนใครให้เห็นดีเห็นชอบด้วยได้  แต่หากท่านทั้งหลายเกิดความคิดว่าเมืองสมุทรสงคราม  ควรจะมีอนุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยขึ้นไว้คู่บ้านคู่เมือง ข้าพเจ้าก็ถือว่า  เป็นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์พระองค์นั้น หากดลบันดาลใจท่าน  และจะเป็นบุญของชาวเมืองสมุทรสงครามเป็นอย่างยิ่ง"


 วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐินที่วัดอัมพวันเจติยาราม  เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามได้ทูลเกล้าฯ ถวายประวัติความสำคัญของวัดอัมพวันฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งว่า "เขียนสิ รู้อะไรก็เขียนไว้" 

เจ้าอาวาสจึงมอบหมายให้นายเทพ สุนทรศารทูล เขียนประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม  


 และนำหนังสือประวัติวัดอัมพวันเจติยารามเป็นหลักฐานในการทำหนังสือกราบบังคมทูลขอสร้างพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ วัดอัมพวันเจติยาราม
  และอัญเชิญเสด็๋์จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธานเททองหล่อพระบรมรูปพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


ครั้นเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๘ วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้ออกอากาศในรายการสารคดี ๕ นาที เรื่อง "กษัตริย์ ชาวอัมพวา" มีใจความว่า " ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระอัมพวันเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม ดำเนินการสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ ๒ เพื่อประดิษฐานไว้ ณ. วัดอัมพวันเจติยาราม"
 
วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๙ นายเทพ  สุนทรศารทูล ศึกษาธิการอำเภออัมพวา  ได้เข้าเฝ้ารับเสด็จในพระราชพิธีเททองหล่อพระบรมรูปพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่กรมศิลปากร  โดยนายเอิบ ณ บางช้าง เป็นผู้กราบบังคมทูลถวายรายงาน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเททอง สมเด็จพระสังฆราชเสด็จทรงเป็นประธานสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
 


พระปรางค์  สถานที่บรรจุพระสรีรังคารของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 





1 ความคิดเห็น:

  1. มีคนแก่ตายแล้วครับแก่บอกว่านามสกลุนี้บวกกับทรัพย์สมบูรณ์เป็นตำรวจเคยอยู่แถววัดระฆังคนอัมพวารุนเดียวกับล้อตอกไปสืบงานแถวกาญจะไปจับโจรแต่อยู่กับโจรจนนับถือเลยไม่จับแล้วลงมาอยู่ใต้ว่าจะไปมาเลเพราะหนีคำสัง่ให้จับเลยมาอยู่ใต้ได้เสียชีวิตแล้ว

    ตอบลบ