วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โสฬสคุรุธรรม "ธรรมะ ๑๖ ข้อของครู" โดยนายเทพ สุนทรศารทูล










โสฬสคุรุธรรม

หนังสือ "โสฬสคุรุธรรม"  ธรรมะ ๑๖ ข้อของครู  
เขียนโดยนายเทพ สุนทรศารทูล ผู้มีประสบการณ์ทางการศึกษามากว่า ๔๐ ปีเศษ


 
                                                     โดย
                                              

                                             เทพ  สุนทรศารทูล

คำนำ

โสฬสคุรุธรรม หรือ  "ธรรมะ ๑๖ ข้อของครู" 
 เขียนไว้ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๕  เมื่อสมัยเป็นผู้นำครูในจังหวัดสมุทรสงคราม  
มีสิ่งบรรดาลดลใจให้ครุ่นคิดถึงปัญหาที่จะยกระดับวิญญาณครูให้สูงขึ้น  จึงเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา  

มันอาจเป็นอุดมคติ  มันอาจเป็นความฝันอันสูงสุด ที่อยากเห็นครูเป็นผู้นำทางภูมิปัญญาของสังคม 


ข้าพเจ้าเคยพูดกับบรรดาครูในที่ประชุมว่า 

"ครูคือนักรบแห่งกองทัพธรรม  ที่กำลังรณรงค์อยู่ในสนามรบ  
ทำการยึดพื่้นที่อยู่ในประเทศไทยทุกตารางนิ้ว  เพื่อเอาชนะข้าศึกศัตรูของชาติ ๗ ประเภท  คือ

๑.ความไม่รู้
๒.ความยากไร้
๓.ความป่วยไข้
๔.ความอ่อนแอ
๕.อาชญากร
๖.กรรมกรว่างเปล่า
๗.สาวโสเภณี


บุคคลที่มีหน้าที่แก้ไขหรือสู้รบกับศัตรู ของชาติ ๗ ประเภทนี้  
ข้าพเจ้ามองไปทั่วทิศ ยังมองไม่เห็นบุคคลใด นอกจากครู  
บุคคลอื่นแม้จะมีหน้าที่โดยตรงหรือโดยอ้อม แต่ก็ไม่ได้รับความเคารพเชื่อถือจากชาวบ้านเท่าครู    


แต่ไม่มีใครเห็นความสำคัญของครู แม้ผู้บังคับบัญชาของครู 
หรือตัวครูเอง  ก็ไม่เห็นว่าตัวมีหน้าที่อันสำคัญอย่างสูงนี้เลยก็ว่าได้

ในที่สุดตัวครูเองก็เบื่อหน่ายท้อถอยหมด แรงกายแรงใจไปเกือบทุกคน  
หันมายื้อแย่งแข่งขันกันในทางทีไม่จีรังยั่งยืนแก่ทั่้งตัวเองและสังคมครู   
หนักเข้าครูก็เสือมเกียรติภูมิลง 
จนในที่สุดก็กลายเป็น "ผักตบชะวา"  ที่ลอยไปลอยมาในน้ำ


จำนวนครูที่มีอยู่มากมายทุกหัวระแหง ก็กลายเป็นบุคคลไร้ความหมาย 
ทั้งนี้เพราะตัวของครูเองก็เหนื่อยหน่ายในอาชีพของตนเอง  
มองเห็นตนเองเป็นบุคคลไร้ค่า 
อย่างนี้แล้วจะให้ใครมายกย่องให้เกียรติครูเล่า


ผู้บังคับบัญชา  ผู้ปกครองครู ผู้นำครูก็ไม่เคยยกย่องให้เกียรติครู  
ไม่เคยปลุกสำนึกให้ครูมีมิ่งขวัญขีันมา  

ข้าพเจ้ามองเห็นปัญหานี้แจ่มแจ้งชัดเจน  
จึงได้พากเพียรเขียนหนังสือนี้ขึ้นมา จากความรู้สึกก้นบึ้งแห่งหัวใจ  
แม้ว่าข้าพเจ้าจะเป็นผู้นำครูในวงแคบเพียงจังหวัดเดียว  มีครูในปกครองไม่ถึง ๓๐๐๐ คน


นี่คือที่ของการเขียนเรื่องนี้ 
มันอาจจะเป็นแสงหิ่งห้อยน้อยๆที่ส่องแสงประกายวาบออกมาในราตรีกาลที่มืดสนิท ก็เป็นได้ 

ขอให้บัณฑิตพินิจพิจารณาเอาเองว่า  
มันเป็นความฝันอันบรรเจิด หรือความฝันอันเพ้อเจ้อ 

แต่มันเป็นความฝันอันสูงสุดของข้าพเจ้า 
จากดวงใจอันเจตนาดีและบริสุทธิ์ ต่อวงการอาชีพครูของข้าพเจ้า


ข้าพเจ้าจะมีความยินดีและปลามปลื้มใจมาก  
ถ้าหากว่าจะมีคนเห็นดีเห็นชอบด้วย แล้วปฎิบัติตามอุดมคตินี้

 เทพ สุนทรศารทูล


วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปรัชญาข้าราชการ เขียนโดยนายเทพ สุนทรศารทูล ผู้รับราชการมากว่า ๔๐ ปีเศษ





 



หนังสือ "ปรัชญาข้าราชการ"


หนังสือ "ปรัชญาข้าราชการ"  เขียนโดยนายเทพ สุนทรศารทูล  ผู้รับราชการมากว่า ๔๐ ปีเศษ

ได้ท่องเที่ยวในดงสีกากีมาอย่างทุะลุปรุโปร่ง   ประดุจดังว่าจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชีวิตข้าราชการ  สาขาบริหารงานบุคคล 





เทพ  สุนทรศารทูล
 


 ใครเป็นข้าราชการควรอ่านหนังสือเรื่องนี้ทุกคน  อ่านแล้วท่านจะได้ดวงตาเห็นธรรมะ ในวงราชการเหมือนไดลุโสดาบันทางราชการหรือจบปริญญาเอก วิชาข้าราชการพลเรือนจากมหาวิทยลัยเสนาอำมาตย์ แห่งกรุงสยาม



ข้าราชการที่ดีนั้น  ต้องมีคุณสมบัติ ๑๒ ประการคือ

๑. ฉลาด   รอบรู้ในหน้าที่น้อยใหญ่

๒. ขยัน  ในการงาน

๓.อดทน  ต่อหน้าที่และต่อเจ้านายเพื่อนฝูงและประชาชน

๔.ประหยัด  อดออม  ใช้เงินเดือนให้พอให้จงได้

๕. ซื่อสัตย์  ต่อตนเอง ต่อเจ้านาย  ต่อหน้าที่  ต่อเพื่อนฝูง

๖.กตัญญู  ต่อเจ้านาย  ต่อลูกน้อง  ต่อเพื่อนฝูง

๗.กตเวที  ต่อเจ้านาย ต่อลูกน้อง ต่อเพื่อนฝูง ต่อสถาบัน

๘.เสียสละ  ต่อหน้าที่ ต่อเจ้านาย  ต่อเพื่อนฝูง  ต่อลูกน้อง

๙.สามัคคี  ต่อเพื่อนฝูงร่วมงาน

๑๐.จงรักภักดี  ต่อเจ้านาย  ต่อสถาบัน  ต่อชาติ ต่อศาสนา ต่อพระมหากษัตริย์

๑๑.มีวินัย  บังคับตนเองได้  ปกครองตนเองได้ ไม่ละมิดวินัย

๑๒.หัวใจ มีพระเจ้า  เคารพต่อพระเจ้าในศาสนาของตน จงรักภักดีใพระเจ้าของตนอย่างมอบกายถวายชีวิต   สิ่งสูงสุดในศาสนานั้นคือพระเจ้าของตน  ต้องเป็นคนมีพระเจ้าอยู่ในหัวใจ



ข้าราชการที่รับราชการอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง จะต้องมีคุณธรรม ๕ ประการคือ

๑. ศรัทธา  เชื่อว่าทำดีได้ดี  ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

.ศีล  ต้องมีศีลธรรม

๓.สตะ ต้องสดับตรับฟัง  ต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

๔.จาคะ  ต้องรู้จักเสียสละ

๕.ปัญญา  ต้องมีความรู้  ต้องมีปัญญาหยั่งรู้ในเรื่องของชีวิตและสังคม

พระพุทธเจ้าตรัสว่า   นี้คือมรรค นี้คือปฎิปทา  หมายความเป็นหนทางเดินและปฎิบัติตนให้มีคุณธรรม
 




นาย เทพ   สุนทรศารทูลรับโลห์ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมปีพ.ศ. ๒๕๓๒  จากพณฯ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์  ประธานองคมนตรี  ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เหรียญพระเจ้าตากสิน รุ่นเผด็จศึกค่ายบางกุ้ง

เหรียญพระเจ้าตากสินรุ่นเผด็จศึกค่ายบางกุ้ง 



เหรียญ พระเจ้าตากสินเผด็จศึกค่ายบางกุ้ง เป็นเหรียญรูปครึ่งองค์ ทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ เป็นเหรียญรูปกลมรีขนาดปานกลาง  ด้านหน้าจารึกว่า " พระเจ้าตากสินเผด็จศึกค่ายบางกุ้ง ๒๓๑๑"  




ด้านหลังเหรียญจารึกความว่า "ชัยยะตุภะวัง  สัพพะ  ศัตรู  วินาสสันติ" 
ซึ่งเป็นพระพรของพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานแก่แม่ทัพนายกองที่ออกศึก






พิธีปลุกเสกเหรียญพระเจ้าตากสิน วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๑๑



รายได้จากการจำหน่ายนำมาสร้างศาลพระเจ้าตากสินมหาราชที่ค่ายบางกุ้ง





เหรียญพระเจ้าตากสินเผด็จศึกค่ายบางกุ้งนี้  ได้จัดสร้างขึ้นโดยดำริของนายเทพ สุนทรศารทูล ผู้เสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการลูกเสือ ว่า  ควรสร้างเหรียญพระเจ้าตากสินเผด็จศึกค่ายบางกุ้ง เพื่อเป็นอนุสรณ์ ในการที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้เคยเสด็จยาตราทัพได้ชัยชนะพม่า ที่ค่ายบางกุ้ง เมื่อพ.ศ.๒๓๑๑ 





รายได้จากการจำหน่ายเหรียญในครั้งนั้น นำมาบูรณะค่ายบางกุ้ง และสร้างศาลพระเจ้าตากสินมหาราชที่ค่ายบางกุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดบางกุ้ง   จังหวัดสมุทรสงคราม

พิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระเจ้าตากสินรุ่นเผด็จศึกค่ายบางกุ้ง คือวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๑๑ โดยมีพระสงฆ์ ๔ รูปจากวัดพระเชตุพน ฯสวดพุทธาภิเษก   พระสงฆ์ ๑๔ รูปนั่งบริกรรม ประกอบด้วย
๑.พระเทพสังวรวิมล(หลวงพ่อเจียง  วัณณสโร)  วัดเจริญสุขาราม  สมุทรสงคราม
๒.พระราชสมุทรโมลี  วัดเพชรสมุทรวรวิหาร  สมุทรสงคราม
๓.พระครูโพธาภิรมย์ (หลวงปู่แหยม) วัดบ้านเลือก ราชบุรี
๔.พระครุสมุทรวิริยาภรณ์  (หลวงพ่อปึก) วัดสวนหลวง  สมุทรสงคราม
๕.พระครูโกวิทสมุทรคุณ  (หลวงพ่อเนื่อง)  วัดจุฬามณี  สมุทรสงคราม
๖.พระครูสมุทรวิจารณ์ (หลวงพ่อคลี่)  วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
๗.พระครูสุวรรณสมุทรคุณ  (หลวงพ่อทองอยู่)  วัดเทพประสิทธิ์คณาวาส สมุทรสงคราม
๘.พระครูสมุทรสุนทร (หลวงปู่สุด)  วัดกาหลง สมุทรสาคร
๙.พระครูสุนทรธรรมกิจ (หลวงปู่หยอด)  วัดแก้วเจริญ  สมุทรสงคราม
๑๐.พระครูสถิตย์สมุทรคุณ  (หลวงพ่อเจริญ)  วัดภุมรินทร์ สมุทรสงคราม
๑๑. พระครูเยื่อ  วัดบางกุ้ง  สมุทรสงคราม
๑๒.พระอาจารย์อ่อม  วัดเพลง  ราชบุรี
๑๓.พระอาจารย์แดง  วัดบางเกาะ สมุทรสงคราม
๑๔.พระอาจารย์เล้ง  วัดปราโมทย์ สมุทรสงคราม
๑๕. พระพิธีธรรม วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ


ต่อมา  นายเทพ สุนทรศารทูล  ได้นำเหรียญพระเจ้าตากสินนี้ ไปให้ พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน  วัดดอนยายหอม)  ทำพิธีปลุกเศก  อีก ๗ ปี  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๓  ถึง พ.ศ. ๒๕๒๐  ไปรับคืนเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ 







นายธวัชชัย เดชาติวงศ์ ณอยุธยา นำคณะกล่าวปราศรัยแก่ผู้มาพัฒนาค่ายบางกุ้ง ณ โบสถ์ปรกโพธิ์


เหรียญพระเจ้าตากสินรุ่นเผด็จศึกค่ายบางกุ้งนี้  ส่วนหนึ่งได้จัดมอบให้ท่านผู้ใหญ่ส่งให้ทหารที่ทำการรบ ดังนี้คือ
๑. มอบให้พ.ท.หลวงยุทธสารประสิทธิ์ นายกสมาคมสหายสงคราม  เพื่อส่งมอบให้พ.อ.สนั่น ยุทธสารประสิทธิ์ ผู้บังคับกองพัน" จงอางศึก" ทหารไทยในเวียดนามใต้
๒.มอบให้พลตรี สุพงษ์ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา รองแม่ทัพกองทัพภาคที่ ๓ พิษณุโลก  เพือแจกทหาร"จงอางดอย"  ในจังหวัดน่าน
๓.มอบให้นายถวิล สุนทรศารทูล  ปลัดกระทรวงมหาดไทย แจกข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ที่อยู่ในเขตผู้ก่อการร้าย
๔.มอบให้นายอภัย จันทวิมล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  แจกข้าราชการที่ทำงานอยู่ในเขตผู้ก่อการร้าย  



ศาลหลักเมืองสมุทรสงคราม










ศาลหลักเมืองสมุทรสงคราม



ศาลหลักเมืองสมุทรสงครามสร้างขึ้นโดยดำริของนายชาญ  กาญจนาคพันธุ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีนายเทพ  สุนทรศารทูลเป็นประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และเลขานุการคณะกรรมการศาลหลักเมือง  ด้วยเหตุผลที่สำคัญ ๔ ประการคือ
๑. เมืองสมุทรสงคราม ต้ังเป็นบ้านเมืองมาแต่แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  จนกระทั่งบัดนี้ประมาณ ๔๐๐ ปี ยังไม่มีศาลหลักเมือง
๒. เมืองสมุทรสงคราม เป็นเมืองราชินิกุลบางช้าง  เมืองประสูตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่สำคัญของราชวงศ์จักรี  ควรจะมีศาลหลักเมืองไว้เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง
๓.การสร้างศาลหลักเมือง เป็นประเพณีมาแต่โบราณ  หัวเมืองที่สำคัญท่านนิยมสร้างศาลหลักเมืองไว้เป็นสัญลักษณ์ ว่าบ้านเมืองมั่นคง  ประชาชนอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
๔. ศาลหลักเมือง เป็นวัตถุ สถานอันสำคัญ  ให้ชาวบ้านได้เคารพบูชาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวเมืองให้มีความผูกพัน  รักใคร่ปรองดองกัน มีความสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  อยู่ทำมาหากินด้วยความร่มเย็นเป็นสุข  อันเป็นหลักใหญ่ของการปกครองบ้านเมืองทุกยุคทุกสมัย 



ต่อมาได้มีหนังสือราชการถึงเลขาธิการสำนักพระราชวัง ขอให้โหรสำนักพระราชวังกำหนดวันวางศิลาฤกษ์  นายเทพ สุนทรศารทูลได้ไปติดต่อโหรสำนักพระราชวัง  โหรสำนักพระราชวังได้กำหนดฤกษ์ให้คือ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๑๗  เวลา ๗.๑๖ น. เป็นปฐมฤกษ์  เวลา ๗.๔๑ น. เป็๋นปัจฉิมฤกษ์ ลัคนาเกาะราศีธนู เป็นมหัทโนฤกษ์  อาทิตย์ พุธ ศุกร์ กุมลัคนา อังคารกาลกินี  เป็นวินาศแก่ลัคนาอยู่ราศีพิจิก  จันทร์เป็นมหาจักร อยู่ราศีเมษ  พฤหัสบดีโยคหน้า  นับเป็นฤกษ์ดีที่สุดสัมพันธํ์กับดวงเมืองของประเทศไทย สัมพันธ์กับดวงชะตาของพระมหากษัตริย์องค์ประมุขของชาติ  



ภาพศาลหลักเมืองก่อนพิธีเปิด  ๑ เดือน




เมื่องานสร้างศาลหลักเมืองใกล้จะสำเร็จเรียบร้อย  ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบหมายให้นายเทพ  สุนทรศารทูลนำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักพระราชวัง ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้า  เพื่อนำเสาหลักเมืองถวายให้ทรงเจิมและทรงพระสุหร่าย  ตลอดจนผูกผ้าห่มสีชมพู ห่มศาลหลักเมืองด้วย 

ในการนี้นายเทพ สุนทรศารทูลได้พบเลขาธิการสำนักพระราชวัง ดร.กัลย์ อิสรเสนา ณ อยุธยา นำหนังสือขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระมหากรุณาธิคุณ นำศาลหลักเมืองขึ้นทูลเกล้าฯ 


และที่สำคัญคือ ขอพระราชทานเส้นพระเจ้าใส่ผะอบทองบรรจุยอดเสาศาลหลักเมืองด้วย  เพราะจังหวัดสมุทรสงครามเป็นเมืองต้นกำเนิดราชินีกุลบางช้าง เป็นเมืองประสูติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อันมีความเกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์จักรี จึงขอพระมหากรุณาธิคุณเป็นกรณีพิเศษ
 
ผะอบทองคำนี้  ชั้นนอกเป็นผะอบทองยอดปริก ชั้นสองผะอบซ้อนอยู่ข้างใน ชั้นในสุดผะอบทองคำสำหรับบรรจุเส้นพระเจ้า




คณะกรรมการศาลหลักเมืองเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ. พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

เพื่อทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายเสาหลักเมืองสมุทรสงคราม วันจันทร์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๑๘ 






นายชาญ  กาญจนาคพันธุ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานประชุมคณะกรรมการศาลหลักเมือง
การประชุมครั้งแรก ๑๖ ก.ย. ๒๕๑๗     คณะกรรมการประชุมใหญ่ประชุมย่อยอีกหลายสิบครั้่ง กว่าจะสร้างศาลเสร็จ




ผู้มาร่วมงานทยอยโปรยข้าวตอกดอกไม้ลงในหลุมศิลาฤกษ์  ขณะที่ทุกคนกำลังโปรยข้าวตอกดอกไม้ ฝนได้โปรยปรายลงมาอย่างน่าอัศจรรย์  เป็นสัญลักษณ์แห่งความร่มเย็นเป็นสุข  ทุกคนอิ่มเอมใจที่ได้มีส่วนสร้างถาวรวัตถุคู่บ้านเมืองที่จะเป็นจุดรวมจิตใจ ของชาวสมุทรสงคราม





พิธียกเสาหลักเมืองและงานสมโภชศาลหลักเมือง   โหรสำนัพระราชวังวาง ฤกษ์ให้ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๘ เวลา ๑๓. ๔๔ น.  ถึง ๑๔.๑๘ น. เป็นราชาฤกษ์ ลัคนาสถิตย์ราศีตุลย์เป็นฤกษ์ดีที่สุด

ในพิธียกเสาหลักเมืองนี้ ได้เชิญ พณฯ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช  นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี