วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

กาพย์พญากงพญาภาณ



กาพย์พญากงพญาภาณ


เรื่อง "พญากงพญาภาณ" เป็นตำนารเมืองนครปฐมในยุคทวาราวดี ดังคำนำที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า "ข้าพเจ้าเป็นชาวนครปฐม จึงมีความฝังใจในเรื่องตำนารพญากงพญาภาณมาแต่เด็ก.... ข้าพเจ้าจึงได้แต่งเป็น "กาพย์พญากงพญาภาณ" ไว้ให้เป็นหลักฐานอ้างอิงกันต่อไปเป็นรูปธรรม ไม่สูญหายไปเสีย..เป็นธรรมเนียมของกวีโบราณ ท่านย่อมเล่นกาพย์กลอนกลบทแผลงไปต่างๆ มากมาย คำกาพย์พญากงพญาภาณเรื่องนี้ จึงได้คิดคำกาพย์ขึ้นใหม่อีก ๑๖ แบบ เพื่อให...้กวีรุ่นหลังไม่เบือหน่ายกับคำกาพย์โบราณ ๔แบบ คือ กาพย์ยานี กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ฉบัง กาพย์ขับไม้ "

คำกาพย์ที่คิดขึ้นใหม่ ประกอบด้วย
๑.กาพย์เสือคำรณ ๑๕
๒.กาพย์พญาพายเรือ ๑๒
๓.กาพย์นาคีลีลาศ ๑๒
๔.กาพย์นาคราชลีลา ๑๐
๕.กาพย์ม้าสะบัดย่าง ๑๗
๖.กาพย์คลื่นกระทบฝั่ง ๑๓
๗.กาพย์ไก่แก้วขันขาน ๑๑
๘.กาพย์นางพญายุรยาตร ๑๓
๙.กาพย์สาริกาจำเรียง ๑๖
๑๐.กาพย์ฝนสั่งฟ้า ๑๖
๑๑.กาพย์ช้างบำรูงา ๑๔
๑๒.กาพย์สำเนียงโพระดก ๑๔
๑๓.กาพย์คลืนกระทบฝั่ง ๑๓
๑๔.กายพ์หงส์เหินนภา ๑๓
๑๕.กาพย์นกเขาคู ๑๐
๑๖.กาพย์กาเหว่ากู่ ๑๐

ดร.นิจ หิญชีระนันทน์ อธิบดีกรมผังเมือง(พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๔) ได้เขียนยกย่องงานเขียน "กาพย์พญากงพญาภาณ" (ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายเทพ สุนทรศารทูล) ว่า "กายพ์พญากงพญาภาณเป็น Masterpiece (ราชบัณฑิตยสถานแปลว่า ผลงานยอดเยี่ยม) ในชีวิตกวีของท่านทีเดียว จากที่อาจารย์เทพ เป็นอัจฉริยกวีผู้มีพรสวรรค์ สามารถแต่งกาพย์กลอนกลบทได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วเหมือนน้ำไหล จากคำนำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ใช้เวลาแต่ง๔๕ วัน หยุดแต่งเสีย ๑๕ วันเพื่อดูหนังสือสอบเลื่อนชั้น จีงมีเวลาแต่งจริงๆเพียง ๓๐ วัน"

คำกาพย์พญากงพญาภาณนี้ เริ่มต้นเป็นคำกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระคเณศ พระพรหม พระอินทร์ พระสยามเทวาธิราช พระเจ้าอย่หัว พระราชินี พญากง พญาภาณ บิดา มารดา ครู อุปัชฌาชย์ พระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพ พระสุริยา พระจันทรา และท้าวจตุโลกบาล 

บทสุดท้ายของเรื่อง ได้ฝากโคลงสี่สุภาพไว้ดังนี้้

"ฝากนามนักกาพย์ไว้           ไม่สูญ
เทพ สุนทรศารทูล               เทียบไว้
พระปฐมพระปโทณมูล        ดินราบ ลงเฮย
คำกาพย์ยังอยู่ให้               โลกรู้ภายหลังฯ"






หนังสือ "กาพย์พญากงพญาภาณ" พิมพ์คร้ังที่ ๒ ในโอกาสที่พระครูปราการลักษาภิบาล เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว จังหวัดนครปฐม ขออนุญาตพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นธรรมทานทำบุญวัดปีพ.ศ.๒๕๔๐ เนื่องจากได้ให้ช่างจิตรกรรมเขียนภาพเรื่องพญากงพญาภาณ ไว้บนฝาผนังอุโบสถวัดใหม่ปิ่นเกลียว เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบโบราณ โดยพระครูปราการลักษาภิบาลมีแนวคิดเขียนภาพจิตรกรรมนี้ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาตำนาร พญากงพญาภาณแต่โบราณ คู่กับประวัติการสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม