วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สุภาษิตสอนหญิง (บทนำ)


..เรื่อง "สุภาษิตสอนหญิง" นี้ นายเทพ สุนทรศารทูลเขียนไว้ต้ังแต่ พ.ศ.๒๕๑๔ลงพิมพ์คร้้งแรกในหนังสือ "ศิลปวัฒนธรรม" เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๒๙ ต่อมาปีพ.ศ.๒๕๓๖ ได้นำมาพิมพ์เผยแพร่

นายเทพ สุนทรศารทูลเขียนหนังสือเรื่องนี้ในลักษณะ "วรรณคดีวิจัย" ว่าสุนรภู่ไม่ได้แต่งสุภาษิตสอนหญิง และผู้แต่ง "สุภาษิตสอนหญิง" นี้คือ นายภู่ ธรรมทานาจารย์ อดึตสมภารวัดสระเกศในสมัยรัชกาลที่๓ (ได้ลาสิกขาออกมาในรัชกาลที่๔ พร้อมกับสุนทรภู่ เพราะเป็นศิษย์สุนทรภู่ทางการกวี นายภู่ ธรรมทานาจารย์นี้ได้เคยเป็นกวีบอกสักวา หน้าพระที่นั่งร่วมวงกับคุณพุ่ม ภมรมนตรีในสมัยรัชกาลที่๔

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เกิดมาทำไม


โดย
เทพ สุนทรศารทูล



ตอบคำถาม - เกิดมาทำไม

ข้าพเจ้าได้อ่านเรื่อง "เกิดมาทำไม" ของคุณเชวง เดชะไกศยะ แล้วก็อยากจะสนทนาธรรมกับท่านผู้อ่านต่อไปในเรื่อง "เกิดมาทำไม" นี้
เพราะ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า "กาเลนะ ธัมมสากัจฉา เอตัมมัง คละมุตตะมัง" การสนทนาธรรมตามกาลเทศะเป็นอุดมมงคล


เรื่องเกิดมาทำไมนี้ มนุษย์ร้อยละร้อย ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม กว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว จนกระทั่งมหาบุรษองค์หนึ่งอุบัติขึ้นมาในโลก เมื่อก่อนพระพุทธศาสนา ๘๑ ปี ชือว่า สิทธัตถกุมาร เกิดมาได้ ๓๖ ปี ท่านจึงตรัสรู้ธรรมอันวิเศษว่าคนเกิดมาทำไม 


ท่านจึงตรัสสอนไว้ว่า
๑. มนุษย์เกิดมาเพราะอวิชชา เกิดมาเพราะไม่รู้ว่าชีวิตคืออะไร เกิดมาทำไม ถ้าคนใดรู้แจ้งว่าชีวิตคืออะไร เกิดมาทำไมแล้ว คนนั้นก็จะไม่เกิดมาอีกเหมือนพระพุทธเจ้าที่จะไม่เกิดอีกแล้ว เกิดชาตินี้่เป็นชาติสุดท้าย พระอริยสงฆ์สาวกที่บรรลุธรรมแล้่วเป็นพระอรหันต์เมื่อบรรลุธรรมแล้วก็รู้ว่าชีวิตคืออะไร เกิดมาทำไม แล้วท่านก็ไม่เกิดอีกทุกองค์
พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในเรื่อง"ปฎฺิจจสมุปาท" (แปลว่าการเกิดขึ้นอย่างสืบเนื่องของชีวิต) ว่า คนเกิดมาเพราะอวิชชา, อวิชชาก่อให้เกิดสังขาร, สังขารก่อให้เกิดวิญญาณ, วิญญาณก่อให้เกิดนามรูป, นามรูปก่อให้เกิดสฬายตนะ, สฬายตนะก่อให้เกิดผัสสะ, ผัสสะก่อให้เกิดเวทนา, เวทนาก่อให้เกิดตัณหา, ตัณหาก่อให้เกิดอุปทาน, อุปทานก่อให้เกิดภพ,ภพก่อให้เกิดชาติ
"ชาติ" คำนี้แหละคือชีวิต
เรื่องนี้เป็นเรื่องลึกซึ้งสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอาจารย์บางท่านนำคำว่า "อิทัปทปัจยตา" มาถกแถลงด้วย
ที่จริง คำว่า "อิทัปปัจจยตา " แปลว่า "สิ่งนี้มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นมา" เมื่อหมดปัจจัยปรุงแต่งแล้วมันก็เสือมสลาย คือตายไป
"ปฎิจจสมุปบาท" แปลว่า "การเกิดขึ้นอย่างสืบเนื่องของชีวิต" มีความหมายกว้างกว่า ลึกกว่า มีความหมายรวม "อิทัปปัจจยตา"ด้วย
รวม


๒.เกิดมาเพราะกรรม อย่างที่คนโบราณท่านพูดว่า เกิดมาใช้กรรมเก่า
พระพุทธองค์ตรัสว่า"กัมมัง เขตตัง วัญญาณังพีชัง ตัณหัง สิเนโห" กรรมเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืชพันธ์ ตัณหาเป็นความทะเยอทะยานอยากเกิดมาเป็นชีวิต วิญญาณแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันอวิชชากั้นไว้ มีตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด อันตั้งอยู่ด้วยกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์จึงต้องไปเกิดในเบื้องหน้า คือกามภพ รุปภพ และอรุปภพ (กำเนิดเป็นสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม) สัตว์โลชกเกิดมาดีทรามต่างกันเพราะแรงกรรมในชาติปางก่อน
ท่านว่าแรงใดๆในโลกนี้ ไม่มีแรงใดจะแรงเท่าแรงกรรมไปได้เลย ส่งผลข้ามภพข้ามชาติทีเดียว ถ้ายังไม่บรรลุพระนิพพานตราบใดก็ต้องเกิดมากินบุญเก่า เกิดมาใช้กรรมเก่า อยู่ตลอดไปชั่วกัปป์กัลป์ ใครว่าตายแล้วสูญ คนนั้น่เป็นมิจฉาทิฎฐิ


๓.เกิดมาเพราะตัณหา ตัณหานี้คือ ภวตัณหา คืออยากเกิดอยากมีชีวิตอยู่ แม้จะเป็นคนยากจน เป็นคนทุพพลภาพ ก็ยังอยากมีชีวิตอยู่ อยากเกิดใหม่ในชาติหน้าที่ดีกว่านี้
ตัณหานี้แหละคือพลังงานชีวิตที่ทำให้คนเกิดมาและเกิดต่อไปทุกภพทุกชาติ
ดังท่านว่า ตัณหาสิเนโห ตัณหาเป็นความติดใจในชีวิตอยากเกิดอยู่เรื่อย
ไม่เกิดอีกนั้น มีหนทางเดียวคือ บำเพ็ญวิปัสสนาญาณจนบรรลุพระอรหันต์เท่านั้น


๔.เกิดเพราะชีวิตเป็นวัฎสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักสิ้นสุด เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดเรื่อยไป มันสุดแต่แรงกรรมที่สร้างไว้ในชาตินีจะนำไปเกิด
วัฎสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิด
ทุกข์ (ชีวิตที่เกิดมามีทุกข์ คือทนอยู่ไม่ได้)
อนิจจัง( ชีวิตไม่เที่ย่งแท้แน่นอน)
อนัตตา (ชีวิตไม่ใช่ตัวตนเราเขาที่แท้จริง) อย่าแปลคำว่า อนัตตา ว่าไม่ม่ตัวตน จะเป็นมิจฉาทิฎฐิไปทันที เพราะตัวตนเรามีอยู่จริง แต่มันไม่ใช่ตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร มันต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต้องเปลี่ยนภพ เปลี่ยนชาติ 


คนต้องเวียนว่ายตายเกิดจนกว่าจะบรรลุพระอรหันต์สู่พระนิพพานอันเป็นอมตะไม่เกิดไม่ตาย อยู่อย่างนั้นชั่วนิรันดร
พระนิพพานมิใช่สูญสิ้น เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรสูญสิ้นไปไหนเลย คงมีอยู่เหมือนเดิมเท่าเดิมทุกอย่าง ดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณ มีอยู่เหมือนเมื่อแรกสร้างโลก
พระพุทธเจ้าทุกองค์ พระอรหันต์ทุกองค์ จึงทรงภาวะเป็นอมตะอยู่ในพระนิพพาน ไม่สูญสิ้นไปไหนเลย





วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พงศาวดารราชินีกุลบางช้าง

    

พงศาวดารราชินีกุลบางช้าง 

โดย
 เทพ สุนทรศารทูล
    หนังสือ"พงศาวดารราชินีกุลบางช้าง" นี้ นายเทพ สุนทรศารทูลใช้เวลาค้นคว้า ศึกษารวบรวม เรียบเรียเขียนนานถึง ๘ ปี ต้ังแต่วันที่๒๙ ธ.ค.๒๕๓๑ -วันที่ ๒๗ พ.ย.๒๕๓๙

   วงศ์ราชินีกุลบางช้าง คือ วงศ์กษัตริย์สุโขทัยที่สืบสายลงมาต้ังบ้านเรือนอยู่ในเมืองสมุทรสงคราม ต้ังแต่แผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง เมื่อต้ังเมืองสมุทรสงครามขึ้นในสมัยพระนารายณ์มหาราช ก็ทรงตั้งบุคคลในวงศ์ราชินีกุลบางช้างเป็นเจ้าเมืองสมุทรสงคราม เจ้าเมืองคนสุดท้ายในสมัยกรุงศรีอยุธยาคือ พระแม่กลองบุรี(เสม) วงศ์ญาติสนิทของคุณนาค

   วงศ์ราชินีกุลบางช้าง เกิดขึี้นมาด้วยคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์)ธิดาเจ้าทอง ผู้มีบุญได้เป็นพระมเหษีพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หลวงอร่ามเรืองฤทธิ์ (ทองด้วง) ได้ไปรับราชการเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองสมุทรสงคราม ที่ตำบลบางช้าง เมืองสมุทรสงคราม (ซึ่งได้ตั้งเป็นเมืองจัตวาขึ้นแล้วในสมัยพระนารายณ์) สร้างป้อมค่ายชายทะเลขึ้นเรียกว่า "ค่ายสมุทรสงคราม) แล้วพระราชทานนามเมืองว่า "สมุทรสงคราม"
เป็นพระราชประเพณ๊มาแต่สมัยโบราณ ที่ห้ามมิให้นับลำดับญาติถึงพระเจ้าแผ่นดิน ให้นับทางพระมเหษีเท่าน้ัน
ดังนั้นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาค) คือต้นวงศ์ราชินีกุลบางช้างสายตรง เพราะฉนั้นพระราชโอรสของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ที่สืบสายมาจากสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ จึงเป็นต้นวงศ์ราชินีกุลบางช้างสายตรง



ตระกูลราชินีกุลบางช้าง ท่านแบ่งเป็น ๓ สาย คือ
๑.สายตรง สายที่สืบมาแต่สมเด็จพระอมรินทรามาตย์โดยตรง คือสายที่สืบมาจากพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสายที่สืบมาจากกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์  และสายที่สืบไปจากกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์  คือ ราชสกุล ณ อยุธยา ดังต่อไปนี้

  ๑.๑ ราชสกุลที่สืบสายจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย คือ
กล้วยไม้, กุสุมา, เดชาติวงศ์, พนมวัน, ไพทูรย์, อาภรณ์กุล, กุญชร, ทินกร, มหากุล,วัชรีวงศ์, ชุมแสง,สนิทวงศ์,นิลรัตน์, อรุณวงศ์,กปิตถา, ปราโมช, มาลากุล

๑.๒ ราชสกุลที่สืบสายจากกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ คือ
บรรยงกะเสนา, อิสรเสนา, พยัคฆเสนา, รังสิเสนา, สหาวุธ, ยุคันธร, สีสังข์, รัชนีกร, รองทรง

๑.๓ ราชสกุลที่สืบสายมาจากพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ
ศิริวงศ์, โกเมน, คเนจร, ลดาวัลย์, ชุมสาย, อรรณพ, สุบรรณ, สิงหรา, ชมพูนุท,

๑.๔ ราชสกุลที่สืบสายมาจากพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ
 กฤดากร, คัดณางค์, จักรพันธุ์, ภาณุพันธุ์, โสภางค์, นพวงศ์, สุประดิษฐ์, สุขสวัสดิ์, ทวีวงศ์, ทองใหญ่, ทองแถม,เกษมศรี, เกษมสันต์, ศรีธวัช, ชมพล, เทวกุล, สวัสดิ์กุล,จันทรทัต, ชยางกูร, วรวรรณ, ดิศกุล, โสณกุล, จิตรพงศ์, วัฒนวงศ์, สวัสดิ์วัฒน์, ไชยยันต์

๑.๕. ราชสกุลที่สืบสายมาจากพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ
กิตติยากร, จักรพงศ์, จฑานุช, จิรประวัติ, ฉัตรไชย. บริพัตร, มหิดล, รพีพัฒน์, ประวิตร, เพ็ญพัฒน์, วุฒิไชย, สุริยง, รังสิต อาภากร

ราชสกุลเหล่านี้ ลงท่้ายว่า ณ อยุธยา เพื่อให้ทราบว่ามาจากราชวงศ์จักรี  รวม ๗๙ ราชสกุล  ที่สืบสายราชวงศ์ลงมาจากสมเด็จพระอมรินทรามาตย์(นาค)  ต้นวงศ์ราชินีกุลบางช้าง


๒. สายชิด นับจากที่สืบสายไปจากพระพี่นางน้องของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ร่วมพระชนกชนนีเดียวกัน คือ
๒.๑. วงศ์เจ้าชูโต สืบมาจากเจ้าพระยาพลเทพ เอี่ยม ชูโต ), สืบมาจากพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสงชูโต), สืบมาจากพระยาสุรเสนา (สวัสดิ์ สวัสดิชูโต)

๒.๒.วงศ์เจ้านวล สืบมาจากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (ต้นสกุล บุนนาค)
 เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา มีบุตรสืบตระกูล เป็นสมเด็จเจ้าพระยาถึงสององค์ คือ
๑. สมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)  ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๔
๒. สมเด็จพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัศ บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการพระนครในสมัยรัชกาลที่ ๔

๒.๓ วงศ์เจ้าแก้ว สืบมาจากเจ้าคุณหญิงแก้ว ภรรยาพระยาแม่กลองบุรี (ศร ณ บางช้าง)

๓. สายห่าง นับวงศ์ของเจ้าพระยาอมรินทรฤาไชย (เสม วงศาโรจน์)